ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบล : กรณีศึกษาตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย
Guidelines for the Development of Village Level Fund Networks : A Case Study of Tambon Hadkumpee , Pakchom District, Loei Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์พิชญ์ทิพา สุวรรณศรี
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาสภาพปัญหาการดาเนินงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลในตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย 2. ศึกษาความต้องการในการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลในตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย 3. ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการนาไปปฏิบัติงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลในตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย 4. ศึกษาค้นหาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลในตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย
คำสำคัญ
การพัฒนาเครือข่าย, กองทุนหมู่บ้านระดับตาบล, ตาบลหาดคัมภีร์
บทคัดย่อย
จากแนวทางการดาเนินงานที่สานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้กาหนดนี้ คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับตาบลหาดคัมภีร์ จังหวัดเลย จึงได้ดาเนินการตามแนวทางที่สานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกาหนดโดยได้มีการจัดตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลขึ้นทั้ง 6 หมู่บ้าน โดยได้มีการกาหนดให้ประธาน และเลขานุการกองทุนหมู่บ้านเข้ามาเป็นคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบล ในปี 2547 สานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบล ๆ ละ 10,000 บาท สาหรับให้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลประเมินศักยภาพกองทุนหมู่บ้าน เพื่อนาไปสู่การพัฒนากองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีการประเมินศักยภาพกองทุนหมู่บ้าน 2 ด้าน คือ ศักยภาพด้านการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ดังนี้ ด้านโครงสร้างของกองทุน ด้านการบริหารจัดการกองทุน และด้านผลการดาเนินงานของกองทุน ศักยภาพด้านการพึ่งพาตนเองสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ การเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การรวมกลุ่มกันพัฒนาและการจัดสวัสดิการชุมชน (สานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. 2547) ผลการดาเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลของตาบลหาดคัมภีร์ทั้ง 6 หมู่บ้าน จากการรายงานผลการดาเนินงานทางเอกสารที่แต่ละเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลได้รายงานให้สานักงานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอาเภอ พบว่าการดาเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายเท่าที่ควร จะเห็นได้จากผลการประเมินการดาเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน ในปี 2559 ปรากฏว่ามีกองทุนหมู่บ้านระดับ AAA (ระดับที่มีผลงานดีเด่น) จานวน 1 หมู่บ้านเท่านั้น ที่เหลือเป็นระดับ AA (ระดับที่มีผลงานปานกลาง) ตาบลหาดคัมภีร์ อาเภอปากชม จังหวัดเลย มีกองทุนหมู่บ้านในตาบล จานวน 6 กองทุน ทั้ง 6 กองทุนได้ดาเนินการจัดตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลขึ้นเมื่อปี 2552 โดยการสนับสนุนของ สานักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอาเภอ ซึ่งได้ทาการคัดเลือกประธานกองทุนหมู่บ้านและเลขานุการกองทุนหมู่บ้านของแต่ละกองทุนหมู่บ้าน ในตาบลหาดคัมภีร์ รวม 16 คน เป็นคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบล และคณะกรรมการได้ดาเนินการคัดเลือกประธานกรรมการเครือข่าย 1 คน รองประธานเครือข่าย 1 คน เลขานุการเครือข่าย 1 คน เหรัญญิกเครือข่าย 1 คน และกรรมการเครือข่ายอีก 12 คน เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบล ตาบลหาดคาคัมภีร์ได้ดาเนินการตามบทบาทหน้าที่โดยมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกองทุนหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน ผลประเมินการพัฒนากองทุนหมู่บ้านของตาบลหาดคาคัมภีร์ปรากฏว่าอยู่ในระดับ AA (ระดับที่มีผลงานปานกลาง) เป็นส่วนมาก (ข้อมูลความเคลื่อนไหวกองทุนหมู่บ้านตาบลหาดคัมภีร์ ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2559) ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลขาดประสิทธิภาพในการส่งเสริม สนับสนุนกองทุนหมู่บ้าน ตามบทบาทหน้าที่ของเครือข่าย เพราะถ้าเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลได้ทาหน้าที่ตามบทบาทของการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกกองทุนในลักษณะพี่ช่วยน้องเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวทางที่สานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กาหนดแล้วน่าจะทาให้การดาเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน แต่ละกองทุนอยู่ในระดับดีเด่น (AAA) มากขึ้น และผู้วิจัยมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการสวัสดิการสังคมให้มีความเข้มแข็ง จึงคิดว่าน่าจะมีแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมในการที่จะพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลให้มีประสิทธิภาพได้ ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการได้นาเสนอแนวทางการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่ม หรือกองทุนต่าง ๆ ไว้มากแล้ว แต่ผู้วิจัยเห็นว่าปัญหาและความต้องการของแต่ละพื้นที่ย่อมแตกต่างกันเนื่องจากสภาพทั่วไปทั้งทางภูมิศาสตร์วัฒนธรรมประเพณี และสิ่งแวดล้อมทางสังคมนั้นแตกต่างกัน และอีกประการหนึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า แนวทางการพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตาบลมีความสาคัญและจาเป็นต่อการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้านเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเครือข่ายเป็นหัวใจของการเชื่อมโยงงานต่าง ๆ ในชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งเครือข่ายนี้ไม่ได้จากัดเฉพาะหมู่บ้านของตนเองเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมโยงไปยังหมู่บ้านอื่นได้
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ