ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาด อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Guidelines for Developing the people’s Welfare Fund Administration of Kudlad Sub-district, Muang District, Ubonratchathani Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.นวพล นนทภา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาดในปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น อันเป็นสาเหตุให้สมาชิกไม่มีความเชื่อมั่นต่อกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาด 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาดให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
คำสำคัญ
การพัฒนาการบริหารงาน, กองทุนสวัสดิการภาคประชาชน
บทคัดย่อย
กองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาด ก็เป็นอีกกลุ่มตัวอย่างหนึ่งของกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นมา เพราะประชาชนในชุมชนท้องถิ่นเห็นประโยชน์และคุณค่าของการรวมตัวกันในรูปของสวัสดิการภาคประชาชน ในลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยมีการตั้งเป้าหมายในการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในชุมชนครอบคลุมตั้งแต่เด็กแรกเกิด การรักษาพยาบาลสมาชิกที่เจ็บป่วย คนชรา สมาชิกผู้ทุพลภาพถาวรไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงปริญญาตรี และเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต ซึ่งการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนตาบลกุดลาดนี้เริ่มต้นเป็นการริเริ่มจากแกนนาในท้องถิ่น แล้วทางองค์การบริหารส่วนตาบลกุดลาดในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทุนสวัสดิการภาคประชาชนเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2549 ซึ่งในช่วงเริ่มต้นมีสมาชิกจานวน 83 คน ที่มาของเงินกองทุนมาจากลักษณะของการออมเงินของสมาชิก โดยสมาชิกสมทบเข้ากองทุนฯ คนละ 200 บาท/คน/ปี และได้มีการขยายกลุ่มสมาชิกในปี พ.ศ. 2552 จึงทาให้มีสมาชิกเพิ่มเป็น 367 คน มีเงินสมทบจากสมาชิก จานวน 61,000 บาท และได้รับเงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนตากุดลาด จานวน 50,000 บาท โดยในการบริหารงานกองทุนฯ จะมีคณะกรรมการกองทุน ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้าน ทาหน้าที่ในการบริหารงาน ซึ่งในระยะเริ่มแรกการบริหารงานก็เป็นไปด้วยดี สมาชิกมีความเชื่อมั่นในกองทุน และมีความเชื่อมั่นในคณะกรรมการ จึงทาให้สมาชิกมีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมาถึงในปี พ.ศ. 2553 พบว่าเหตุการณ์กลับตรงกันข้าม สมาชิกเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อการบริหารงานกองทุนของคณะกรรมการ จึงทาให้สมาชิกบางส่วนเริ่มลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ และมีจานวนมากขึ้น จนทาให้ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) มีสมาชิกเหลืออยู่ประมาณ 240 คน ซึ่งจากสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมเป็นตัวสะท้อนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่ากองทุนฯ เริ่มไม่มีความมั่นคงแล้ว หากยังเป็นอยู่อย่างนี้ต่อไป โดยไม่มีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กองทุนฯ ดังกล่าวนี้ต้องล่มสลายลงแน่นอนที่สุด ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงสภาพการบริหารกองทุนฯ ในปัจจุบันว่ามีสภาพการณ์เป็นอย่างไร มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างที่ทาให้การบริหารไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และที่สาคัญอะไรคือสาเหตุที่ทาให้สมาชิกขาดความเชื่อมั่นในกองทุนฯ ทั้งนี้เพื่อผู้ศึกษาจะได้นาข้อมูลข้างต้นมาสู่กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนาไปสู่การสร้างแนวทางในการพัฒนา กองทุนฯ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และที่สาคัญสมาชิกทุกคนยอมรับ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้กองทุนฯ เกิดความยั่งยืน และเป็นหลักประกันให้กับประชาชนอย่างแท้จริง สมดังเจตนาของการจัดตั้งกองทุนฯ ในครั้งแรก
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ