ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาระบบสำหรับกลุ่มอาชีพการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนตำบลจารพัต อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
System Development for Silk Weaving Group: A case study of Charaphat Community Sub-district Srikhohrabbum District Surin province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ธนัญชัย สิงห์มาตย์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อศึกษาระบบสำหรับกลุ่มอาชีพการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนตำบลจารพัต อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 4.2 เพื่อการพัฒนาระบบสำหรับกลุ่มอาชีพการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนตำบลจารพัต อำเภอศรีขร ภูมิ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ
การพัฒนา, ระบบสวัสดิการ
บทคัดย่อย
ประเทศไทยมีประวัติการทอผ้าใช้ภายในหมู่บ้าน มานานตั้งแต่โบราณกาลในสมัยยุคบ้านเชียงเมือง มรดกโลก พบว่ามีเศษผ้าติดกับกำไลโลหะสัมฤทธิ์ มีการย้อมคราม ย้อมแก่นขนุน สีกรักในกลุ่มพระสายวัดป่า การทอผ้าด้วยกี่พื้นบ้านตามแบบดั้งเดิมนั้นให้ผ้าที่มีเสน่ห์ไม่เบื่อง่ายเหมือนเสื้อผ้าโหลของโรงงานผ้าทอมือ นิยมซื้อขายเป็นของฝากญาติผู้ใหญ่ใช้ไหว้ในงานประเพณีแต่งงานในพื้นที่ภาคอีสานผ้าทอพื้นบ้านอาจจะสูญ หายไปกับความนิยมแฟชั่นยุคใหม่ ๆ หากไม่ได้มีการพัฒนารักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริม จากนโยบายหนึ่ง ตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ฟื้นฟูการทอผ้าพื้นบ้านกลับคืนมา (นิ่มนวล จันทรุญ. 2559) ปัจจุบันประเทศไทยได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 โดย เน้นการสร้างฐานรากที่มั่นคงในอาชีพ เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชุมชนอย่างสมดุล ทั้งการผลิต บริโภคในชุมชนสนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มอาชีพในชุมชนสนับสนุนการนำภูมิปัญญาวัฒนธรรม ท้องถิ่นมาใช้สร้างสรรค์ คุณค่าสินค้าและร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนสร้างอาชีพและรายได้ รวมไปถึงการสร้างสวัสดิการสังคมโดยชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพอาชีพความรู้การจัดการทักษะ อาชีพและการหาช่องทางการตลาด ด้วยความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการ พัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ซึ่งได้ให้ความสำคัญ กับชุมชน โดยการพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานและสร้างภูมิคุ้มกันในการพัฒนา เศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ไห้กับประชาชน ในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจระดับรากหญ้าเกิดความเข้มแข็งสามารถหาเลี้ยงพึ่งพา ตนเองได้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น การพัฒนาประเทศให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และการกินดีอยู่ดีมีสุขของคนไทยต้องเริ่มจากการใช้ จุดแข็งในสังคมและทุนทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการพัฒนาประเทศโดย การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองเพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ กองทุนสวัสดิการ ชุมชนเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่และ คุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งตนเองได้ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสวัสดิการชุมชน ได้แก่ สมาชิกในชุมชนโดยเน้นหลัก สำคัญ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในชุมชนตั้งแต่เกิดจนตาย จึงมีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนการดำเนินงานสวัสดิการชุมชนที่จัดโดยภาครัฐ ซึ่งไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุมกับทุกคนใน สังคม เพื่อให้การดำเนินงานด้านสวัสดิการชุมชนเกิดในชุมชนอย่างทั่วถึงแก่ทุกกลุ่ม ในสังคมจึงได้เปิดโอกาส ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดระบบสวัสดิการชุมชนเพื่อการดูแลซึ่งกันและกันใน ชุมชนโดยให้ชุมชนดำเนินการเอง โดยจัดตั้งเป็นรูปสวัสดิการแบบอื่น ๆ หลากหลายมีความแตกต่างทั้งรูปแบบ การให้บริการการดำเนินงานและการจัดสิทธิประโยชน์ซึ่งยังขาดการสร้างเครือข่ายบูรณาการการร่วมมือและ การบริหารการดำเนินงานที่ดีจึงเกิดช่องว่างอุปสรรคเข้าถึงบริการสวัสดิการชุมชน การดำเนินงานการจัด สวัสดิการชุมชนที่ดีมีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกองทุนนั้น ๆ การดำเนินงานของกองทุน สวัสดิการชุมชนมีการทำงานในรูปของคณะกรรมการบริหารหรือคณะบุคคลหรือการทำงานเป็นกลุ่มเป็นคณะ ซึ่งมีข้อดีหลายประการกล่าวคือ สามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างดี เพราะเป็นการระดม สติปัญญาและความคิดประสบการณ์ของบุคคลหลายบุคคล เพื่อพิจารณาปัญหาตัดสินหรือหาข้อยุติอย่างมีเหตุ มีผลสร้างความร่วมมือการประสานงานที่ดีในการปฏิบัติงาน (พรรณวิภา สุวรรณชุมภ. 2557) การทอผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า 3,000 ปีมาแล้ว โดยมี แหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบน จนปัจจุบันได้แพร่กระจายไป ทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น จาก อดีตถึงปัจจุบันมนุษย์ได้พัฒนาการทอผ้าทั้งรูปแบบเทคนิคการย้อมสีและการออกแบบลวดลายผ้าทอใน ประเทศไทยแสดงถึงศิลปะภูมิปัญญาของชุมชน อาชีพการทอผ้าไหมเป็นอาชีพหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในชุมชนตำบลจารพัต อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีลวดลายประจำท้องถิ่นที่สวยงามชื่อลาย อันปรัมและโฮล แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของคนหมู่มาก ทั้งนี้เพราะประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ ยังไม่มี แนวทางความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพให้เป็นกลุ่มอาชีพหรือยังไม่มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ ขึ้นมา จึงเสมือนเป็นโอกาสอันดีของผู้วิจัยและคณะที่จะได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลจารพัตภายใต้กลุ่ม งานสวัสดิการสังคมเข้าไปช่วยพัฒนาส่งเสริมให้เกิดการสร้างศักยภาพอาชีพการทอผ้าไหมให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลอย่างยั่งยืนเฉกเช่น นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2547) ที่ได้กล่าวถึงกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบการ รวมกลุ่มว่ามีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ1) มีอุดมการณ์หรือระบบคิดให้เป็นไปภายใต้ “วิธีคิดของชาวบ้าน” คือให้โอกาสทุกคน 2) มีโลกทัศน์หรือการรับรู้เกี่ยวกับสภาพรอบตัวถึงทัศนะในการมองโลกของบุคคลและ สังคม โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน 3) ความสัมพันธ์ ทางด้านสังคม ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีการโยงใยกันจากบุคคลหรือจุดเล็ก ๆ เป็นเครือข่ายหรือจุด รวมของความสัมพันธ์ในท้องที่หรือชุมชนนั้น ๆ ซึ่งความสัมพันธ์จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัย ความสัมพันธ์ดั้งเดิมมีการติดต่อโดยตรงและแนบแน่นและจุดเชื่อมโยงที่สร้างพลังมากขึ้นด้านความสัมพันธ์คือ “การรักษาพิธีกรรมของกลุ่มหรือชุมชน” ให้ดำรงไว้ และ 4) ค่านิยมหรือคุณค่าที่สมาชิกในสังคมเห็นว่าดี หรือไม่ดีเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานหรือแนวทางปฏิบัติที่สมาชิกในสังคมยึดถือ นอกจากนั้น ใจ สคราญ หิรัญพฤกษ์ (2545) ซึ่งได้นำเสนอกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการ เปรียบเทียบระหว่างกระบวนทัศน์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบนพื้นฐานของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการ แยกสังคมออกเป็นส่วน ๆ กับกระบวนการทัศน์ใหม่ของการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันซึ่งกระบวนมุ่งให้ชุมชนมีโอกาสสำรวจศักยภาพของตนเองและเรียนรู้ที่จะเสริมสร้าง ชุมชนให้มีพลังกระบวนทัศน์ใหม่ทำให้เกิดแนวคิดวิธีใหม่ คือ คิดแบบเชื่อมโยงเป็นพลวัต ไม่คิดแบบแยกส่วน บูรณาการทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม และวัฒนธรรม ในขณะที่สุภาพร สาธรพันธ์ (2551) พบว่า จะต้อง สร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนากลุ่มให้เกิดขึ้นเพื่อให้กลุ่มสตรีเกิดการพัฒนาจนประสพผลสำเร็จตามความมุ่ง หมาย โดยต้องมีลำดับขั้นตอนของการดำเนินงานเพื่อให้มีแนวทางการพัฒนาที่เป็นไปอย่างยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น เพื่อการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมด้านการสร้างศักยภาพอาชีพการทอผ้าไหมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคี เครือข่ายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใน 42 แห่ง ทางภาคอีสานได้ร่วมมือกันทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อันจะนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยผู้วิจัยและคณะได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชน โดยผ่านการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบสำหรับกลุ่มอาชีพการทอผ้าไหม กรณีศึกษาชุมชนตำบล จารพัต อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้เกิดเป็นเครือข่าย ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ