ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมสร้างรายได้ กรณีศึกษาชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
การพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมสร้างรายได้ กรณีศึกษาชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาศักยภาพของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมสร้างรายได้ กรณีศึกษา ชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ
การพัฒนา, สวัสดิการ
บทคัดย่อย
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจที่จะ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีมากขึ้น มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้น หากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็น ต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับการคมนาคมติดต่อสื่อสาร ที่สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่าง ๆ มีโอกาสติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อประเทศอื่น ๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนิน นโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งรุนแรงมากขึ้น การแข่งขันในโลกปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนจากการแข่งขันทาง อาวุธและสงครามมาเป็นการแข่งขันทางการค้า สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ นับได้ว่ามี ความสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนโดยส่วนรวมในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนจะต้อง พิจารณาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยว่ามีแนวโน้มดำเนินไปอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวมโดยแท้จริง เป็นต้น ประเทศไทยในกระแสแห่งการพลวัตเช่นนี้ เราจำเป็นต้องเสริมสร้างสังคมไทยให้อยู่ดีมีสุข โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ร่วมกันของคนในชุมชนด้วยทุนทางทรัพยากรและศักยภาพของ ชุมชน มีการสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองอย่างเพียงพอ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอก ชุมชน บนพื้นฐานของภูมิปัญญาและศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่ (ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2553: 18) การดำรงชีวิตของคนในสภาวะที่เศรษฐกิจของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การประกอบอาชีพ ของคนในชุมชนก็ย่อมมีผลต่อรายได้ของครอบครัว การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้นนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาอาชีพหรือหารูปแบบในการสร้างรายได้กับประชาชนที่หลากหลาย โดยเน้นการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะของบุคคล กลุ่มบุคคล ด้วย ความร่วมมือของผู้นำชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้าง รายได้ให้กับชุมชน โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประชาชนจึงจำเป็นต้อง แสวงหาการสร้างรายได้ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการดำรงชีวิตของบุคคลและกลุ่มบุคคล โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกันโดยกลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกรูปแบบในการการ สร้างเสริมรายได้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการ เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น โดยการสร้างรายได้ลดรายจ่ายและเพิ่มศักยภาพ ของชุมชนให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเหมาะสมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เป็นต้น คุณภาพชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประชากรในประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ หากประชากรกลุ่มนี้ในชาติโดย ส่วนรวมด้อยคุณภาพ แม้ว่าประเทศนั้นจะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เพียงใด ก็ไม่อาจทำให้ประเทศชาตินั้น เจริญและพัฒนาให้ทันหรือเท่าเทียมกับประเทศที่มีประชากรที่มีคุณภาพได้ คุณภาพของประชากร จึงเป็น ปัจจัยที่สำคัญและชี้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใดจะเจริญก้าวหน้ากว่าอีกประเทศ ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพบ้านเมืองได้รับผลกระทบจากสงคราม แต่ด้วยการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพของประชากรญี่ปุ่น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นยกฐานะเป็น ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าคุณภาพชีวิตมีความสำคัญ ต่อชุมชนและประเทศชาติให้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพที่อยู่ดีมีสุข เป็นต้น จากรายงานการสำรวจ ประชากรสูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557) พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการเกื้อหนุนด้าน การเงินจากครอบครัว และจากการทำงานมีแนวโน้มลดลงจากผู้สูงอายุ 1 คน เคยมีวัยแรงงาน 5 คนเกื้อหนุน ดูแล จะเหลือวัยแรงงานไม่ถึง 2 คน ที่เกื้อหนุนดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจากการ คาดการณ์ในปี 2583 ผู้สูงอายุต้อง พึ่งพาตนเอง โดยอาศัยเงินจากระบบบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยยังชีพ คู่สมรส เงินออม และดอกเบี้ยเงินออม จาก ทรัพย์สิน ของตนเพิ่มมากขึ้น (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2557: 18) จาก กระแสความเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาดังกล่าว เป็นผลทำให้วิถีชีวิต ของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในชนบทการดำรงชีวิตจากครอบครัวขยายเปลี่ยนมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุจะอยู่บ้านเพียงลำพังคนเดียวไม่ค่อยได้พบปะพูดคุยกับใคร ส่วนใหญ่จะมี ภาระดูแลบ้านประกอบอาหารและเลี้ยงดูหลาน เนื่องจากบุตรที่แต่งงานแล้ว หรือยังไม่แต่งงานจะต้องไปหา รายได้หรือต้องไปทำงานต่างถิ่นทำให้ผู้สูงอายุต้องมีบทบาทในการเลี้ยงดูหลานไม่มีอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้เป็น ของตนเอง ต้องคอยรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบล สาธารณสุข และ ลูกหลาน ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเจ็บป่วยด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น (2550) ที่ได้ให้แนวทางในการดำเนินงานพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส มีดังนี้ 1) การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ และส่งเสริมอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นจัดทำทะเบียนอาชีพ ทะเบียนวัตถุดิบ ทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน การสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อการส่งเสริมอาชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การฝึกอาชีพ โดยฝึกอบรม ตามความต้องการของประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการผลิตการปลูกการสร้างผลผลิต ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมอาชีพและสร้างโอกาสให้เกิดการ ทำงานสร้างรายได้แก่ประชาชนที่อยู่ในวัยทำงาน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่รับผิดชอบ ของท้องถิ่น 3) ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอาชีพการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา อาชีพและส่งเสริมกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วในพื้นที่รับผิดชอบของท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและมีการ บริหารจัดการที่ดี 4) การส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพของประชาชน 5) การส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ อาชีพในท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ทักษะการบริหารจัดการการ ปรับปรุงและสร้างโอกาสการแข่งขันทั้งใน ระดับชุมชนระดับประเทศและต่างประเทศ 6) การส่งเสริม สนับสนุนประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในการ จัดทำแผนการส่งเสริมอาชีพที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของประชาชนองค์กรประชาชนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 7) มีการติดตามประเมินผล แผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม การส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น และปรับปรุงแก้ไขพัฒนาไปสู่ความต้องการของประชาชนในทุกระดับ จากการกำหนดแนวทางการส่งเสริมอาชีพของกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สามารถสรุปเป็นแนวทางด้านการส่งเสริมอาชีพ โดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยคำนึงถึง ความจำเป็นและความสอดคล้องทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน (นพศร ศรีชัย และ พีรพล ไตรทศาวิทย์. 2554) เทศบาลตำบลภูแล่น ช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะจากสภาตำบลภูแล่นช้างเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้าง ให้มี สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้างหมู่บ้านละ 2 คน มาจากการเลือกตั้ง และยังให้กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตำแหน่ง และเมื่อปี พ.ศ. 2556 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลภูแล่นช้างตั้งแต่นั้นจนมาถึงปัจจุบันเทศบาลตำบลภูแล่นช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น เทศบาล ตำบลภูแล่นช้าง มีกลุ่มงานฝ่ายสวัสดิการสังคมที่ดูแลรับผิดชอบจัดสรรสวัสดิการสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคม รวมทั้งการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิต ได้ในระดับมาตรฐาน โดยบริการดังกล่าวจะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนให้ได้รับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในชุมชนในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านความเป็นอยู่อาศัย ด้านการบริการสังคมทั่วไป และด้านการมีรายได้ เป็นต้น ปัจจุบัน กลุ่ม งานฝ่ายสวัสดิการสังคม ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นด้านการส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะอันเนื่องมาจากกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนค่อนข้างมีคุณภาพชีวิต ที่ตกต่ำมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นต้น ดังนั้น จาก ความสำคัญที่กล่าวมาในข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น มีวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใน 42 แห่ง ทางภาคอีสาน ได้ร่วมมือกันทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม อันจะนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยผู้วิจัย และคณะได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยผ่านการวิจัยเรื่อง “การ พัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในด้านการส่งเสริมสร้างรายได้กรณีศึกษาชุมชนตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิดเป็นเครือข่ายชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน 4.0 ต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ