ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม บ้านทับช้าง หมู่ที่ 4 ตำบท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Participatory Waste Management for Ban Thap Chang, Moo 4, Tha Kwang, Amphoe Watthana Nakhon Srakaew Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีวุฒิชัย สายบุญจวง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆและประชาชนในพื้นที่ในการจัดการขยะ 2 เพื่อสร้างแนวทางการจัดการขยะอย่างถูกวิธีโดยการมีส่วนร่วม
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม,การจัดการ,ขยะ
บทคัดย่อย
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงทศวรรษที่ผ่าน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพื่อการผลิต การอุปโบริโภค ที่อยู่อาศัย อาหารเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้สิ่งเหลือทิ้งมี ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขยะเพิ่มสูงขึ้นตามมา จากข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยที่ ผ่านมา พบว่า แนวโน้มของปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปี พ.ศ.2559 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั้งหมด 27.06 ล้านตัน หรือคิดเป็น อัตราการเกิดขยะมูลฝอย อยู่ที่ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นต้น บ้านทับช้าง หมู่ที่ 4 ตำบท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่หนึ่งทีมีบุคคลภายนอกชุมชนได้เข้ามาสร้างปัญหาขยะในชุมชน เช่น การลักลอบนำมาทิ้งในพื้นที่ของชุมชน การทิ้งขยะของรถเล่ย์ขายของจากภายนอก จนส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่น ส่งกลิ่นเหม็น สภาพแวดล้อมไม่น่าอยู่อาศัย และเกิดเป็นแหล่งบ่มเพาะของเชื่อโรคและแมลงต่าง ๆ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ชุมชนยังขาดการมีส่วนร่วมและความรู้ในการป้องกันและจัดการขยะอย่างถูกวิธี ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการทำงานร่วมกัน มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง กาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่ในการจัดการขยะ และ 2.สร้างแนวทางการจัดการขยะอย่างถูกวิธีโดยการมีส่วนร่วม ในหมู่บ้านทับช้าง หมู่ที่ 4 ตำบท่าเกวียน มีการสร้างนักวิจัยชุมชนจากประชาชนในหมู่บ้านทับช้าง และมีทีมนักวิจัยเป็นผู้สนับสนุนและพี่เลี้ยง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(PAR) โดยสรุปขั้นตอน ได้ 6 ขั้นตอน คือ ประกอบ 1) การสร้างความสนใจและค้นหานักวิจัยชุมชน 2) การประชุมพูดคุยเพื่อค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาในชุมชน 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเค้าโครงวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวิจัย 4) นักวิจัยและประชาชนในชุมชนประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาข้อมูล สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน 5) การประมวลผลข้อมูลและวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชน 6) การจัดกิจกรรมแก้ไขปัญหาชุมชน ซึ่งผลการดำเนินการประชาชนและผู้นำชุมชนได้ให้ความสนใจและตระหนักในปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยรวมกันวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาขยะ ออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1. การรณรงค์ติดป้ายประชาสัมพันธ์และเตือนห้ามการนำขยะมาทิ้งในชุชน 2. เสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มวันเวลาในการเก็บขยะและขอรับการสนับสนุนถังขยะในชุมชนเพิ่มเติม และ 3.การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังการนำขยะมาทิ้งในลักษณะเยาวชนตาวิเศษและการเพิ่มบทบาทให้เยาวชนเป้นแกนนำในการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธี โดยเริ่มจากครอบครัวสู่ชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม บ้านทับช้าง หมู่ที่ 4 ตำบท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ