ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะในครัวเรือนของเทศบาลตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
Promoting Parcipation of Community in Municipal Solid Waste Management in in Khoklarm Municipality, Chaturaphak Phiman District, Roi-Et Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์อังศุมา ก้านจักร
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะของเทศบาลตำบลเทศบาลตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ
การส่งเสริมการมีส่วนร่วม, การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน, การมีส่วนร่วม, กระบวนการมีส่วนร่วม, ขยะมูลฝอย
บทคัดย่อย
เทศบาลตำบลโคกล่าม เป็นเทศบาลขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอจตุรพักตรพิมาน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอจตุรพักตรพิมาน 6.5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด 22 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 45.88 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,377 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีลำห้วยไหลผ่าน 4 สาย ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีอากาศร้อนจัดและแห้งแล้งในฤดูร้อนและมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว มีประชากรอาศัยอยู่รวมทั้งสิ้น 16 หมู่บ้าน จำนวน 7,370 คน แยกเป็นประชากรชาย 3,691 คน และประชากรหญิง 3,679 คน มีจำนวนครัวเรือน 1,880 หลังคาเรือน และมีความหนาแน่นของประชากร 160 คนต่อตารางกิโลเมตร (เทศบาลตำบลโคกล่าม, 2560) เทศบาลตำบลโคกล่าม มีความพร้อมทั้งด้านการคมนาคมและสาธารณูปโภค มีแหล่งน้ำจำนวนมากที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรได้ มีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 4 แห่ง จุดเด่นของตำบลโคกล่ามอยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชนทำให้ได้รับรางวัลแห่งเกียรติยศ รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ในปัจจุบันเทศบาลตำบลโคกล่ามมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น จากการคาดการณ์จำนวนประชากร มีประมาณ 0.91 กรัมต่อคนต่อวัน หรือประมาณ 202 ตันต่อเดือน ซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์ ยังขาดข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจริงและลักษณะองค์ประกอบของขยะมูลฝอย รวมถึงประสิทธิภาพและศักยภาพในการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบันของเทศบาลตำบลโคกล่าม ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจเลือกแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมและยั่งยืนสำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลโคกล่ามประสบกับปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเทศบาลตำบลโคกล่ามไม่มีถังขยะรองรับ ไม่มีรถเก็บขนขยะ และไม่มีพื้นที่ในการกำจัดขยะ ชุมชนทำการจัดการขยะเอง บ้างก็ทิ้งตามถนนตามที่สาธารณะ บางครัวเรือนกำจัดขยะโดยวิธีการเผา การเทกองกลางแจ้ง การฝังกลบ หรือแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครัวเรือนซึ่งเป็นการกำจัดขยะไม่ถูกวิธี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางด้านต่างๆ เช่น อากาศเสียจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น เมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียไหลลงสู่พื้นที่นา เป็นแหล่งพาหนะนำโรคจากขยะมูลฝอยตกค้างในพื้นที่ แหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนรวมถึงเหตุรำคาญและความไม่น่าดูและเกิดกลิ่นเหม็น เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์นโยบายของจังหวัดและเทศบัญญัติของเทศบาลตำบลโคกล่าม ภายใต้โครงการหมู่บ้านต้นแบบคัดแยกขยะที่ต้นทาง โดยมุ่งเน้นการจัดการขยะมูลฝอยในระดับครัวเรือน ให้ครัวเรือนลดปริมาณขยะที่ต้นทาง เพิ่มรายได้ให้ชุมชน และให้ชุมชนกำจัดขยะอย่างถูกวิธี คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของเทศบาลตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและนำผลจากการศึกษาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ