ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาบทบาทของกลุ่มเยาวชนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ หมู่ 4 ตำบลท่เกวียน อำภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Development of the role of the participatory waste management youth group. Moo 4, Tambon Tha Kwwian, Amnat Charoen Nakhon, Sa Kaeo

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีวุฒิชัย สายบุญจวง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2 เพื่อพัฒนาบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม,การจัดการ,ขยะ
บทคัดย่อย
จากสถานการณ์ โครงสร้างประชากร โดยข้อมูลประชากรไทยจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ มีประชากรทั้งสิ้น ๖๓.๕ ล้านคน เป็นเด็กและเยาวชน คือบุคคลที่มีอายุ ไม่เกินยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ จำนวน ๒๒.๙๒ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๘๕ ของประชากรทั้งหมด (กลุ่มเด็กแรกเกิดถึง ๒ ปี ประมาณ ๒.๓๐ ล้านคน กลุ่มอายุ ๓ - ๕ ปี ประมาณ ๒.๔๐ ล้านคน กลุ่มอายุ ๖ - ๑๒ ปี ประมาณ ๕.๙๑ ล้านคน กลุ่มอายุ ๑๓ - ๑๗ ปี ประมาณ ๔.๘๕ ล้านคน และกลุ่มอายุ ๑๘ - ๒๕ ปี ประมาณ ๗.๔๖ ล้านคน) จากโครงสร้างประชากรเด็กและเยาวชนไทย คาดว่ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับลักษณะโครงสร้างครอบครัวไทยและสภาพแวดล้อมเด็ก ประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือน ๒๑.๑๔ ล้านครัวเรือน ขนาดครอบครัวเฉลี่ย ๓.๐ คนต่อครัวเรือน (ข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม ๒๕๕๒) สถิติการจดทะเบียนสมรสลดลง ในขณะที่สถิติการหย่าร้างสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี ๒๕๕๐ มีอัตราการหย่าร้างประมาณ ๑ ใน ๓ ของการจดทะเบียนสมรส ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่าสถิติการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ๒ เท่า จากประมาณ ๕๐,๐๐๐ คู่ ในปี ๒๕๓๖ เป็นประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คู่ ในปี ๒๕๕๐ สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเครือญาติเป็นสังคมปัจเจกมากขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบครอบครัวไทย เช่น ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่มีพ่อหรือแม่เลี้ยงบุตรเพียงลำพัง ครอบครัวพ่อแม่วัยรุ่น ครัวเรือนที่อยู่ด้วยกันแบบไม่ใช่ญาติ ครัวเรือนที่มีอายุแบบกระโดด คือ ปู่ย่า/ตายายกับหลาน หรือครัวเรือนที่เป็นเพศเดียวกัน นอกจากนี้ ผลของการสำรวจเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๕๒ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่มีร้อยละ ๖๑.๘ ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มีร้อยละ ๒๐.๑ ที่เหลืออยู่กับพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง สำหรับเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่พบว่าอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล ในการดำเนินชีวิตของครอบครัว มีการเปลี่ยนแปลงที่ทั้งพ่อและแม่ต้องแสวงหารายได้ ทำให้ไม่สามารถอบรมเลี้ยงดูบุตรได้เท่าที่ควร ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการดูแลที่เพียงพอ จึงถูกดึงดูดจากสิ่งจูงใจภายนอกครอบครัวโดยง่าย เช่น ติดเกม ติดสารเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ตลอดจนไม่รู้บทบาทและความสำคัญของตนเองในฐานะที่เป็นพลเมืองหนึ่งของสังคม พื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่บทบาทของเยาชนไม่ได้รับการส่งเสริม เด็กและเยาวชนขาดทักษะในการเรียนรู้และการใช้ชีวิต สืบเนื่องจากการขาดความเอาใจใส่ดูแล ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการทำงานร่วมกัน มาปรับใช้ในการพัฒนาบทบาทของเยาวชน โดยนำประเด็นขยะมาเป็นมาสร้างพื้นที่ให้กับเยาวชนได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาของชุมชน กาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1).สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น และ 2). พัฒนาบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาท้องถิ่น ในหมู่บ้านทับช้าง หมู่ที่ 4 ตำบท่าเกวียน มีการสร้างนักวิจัยชุมชนจากประชาชนในหมู่บ้านทับช้าง และมีทีมนักวิจัยเป็นผู้สนับสนุนและพี่เลี้ยง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(PAR) โดยสรุปขั้นตอน ได้ 6ขั้นตอน คือ ประกอบ 1) การสร้างความสนใจและค้นหานักวิจัยชุมชน 2) การประชุมพูดคุยเพื่อค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาในชุมชน 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเค้าโครงวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวิจัย 4) นักวิจัยและประชาชนในชุมชนประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาข้อมูล สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน 5) การประมวลผลข้อมูลและวางแผนแก้ไขปัญหาชุมชน 6) การจัดกิจกรรมพัฒนาบทบาทเยาวชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ถึงความสำคัญของเยาวชนและแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของเยาวชน ผลการดำเนินการ ผู้นำชุมชน ประชาชนและเยาวชน ได้ให้ความสนใจและตระหนักในการพัฒนาบทบาทเยาวชน โดยการจัดเวทีและกิจกรรมเพื่อพัฒนาบทบาทเยาวชน ออกเป็น แนวทาง คือ 1. การสร้างความสนใจให้กับเยาวชนเห็นถึงความสำคัญของปัญหาในชุมชน 2. การอบรมเชิงปฏิบัติติการเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชน 3. การสร้างแกนนำเฝ้าระวังปัญหาและร่วมพัฒนาชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. การพัฒนาบทบาทของกลุ่มเยาวชนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ หมู่ 4 ตำบลท่เกวียน อำภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ