ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการลดใช้สารเคมีในการเกษตรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Chemical Reduction with Organic Agriculture in Nongjig Subdistrict Administrative Organization, Borabue Province, Maha Sarakham Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์วงศผกา พิมพา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อหาแนวทางการลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรโดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
คำสำคัญ
การลดการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช, สารอินทรีย์ทดแทน
บทคัดย่อย
อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ของคนไทยมาโดยตลอดและเป็นการประกอบ อาชีพเพื่อการดำรงชีวิตต่อมาเมื่อมีการปรับ เปลี่ยนวิถีการทำเกษตรโดยมีเป้าหมายทางการ ค้าเป็นสำคัญจึงทำให้ปริมาณการใช้สารเคมี ทางการเกษตรของไทยเพิ่มทวีขึ้นเรื่อย ๆ จนถือได้ว่าติดอันดับประเทศที่ใช้สารเคมี ทางการเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สารเคมีที่ใช้ในการ ทำการเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือปุ๋ยเคมีกับสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยาปราบศัตรูพืช” กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามโรคที่เกี่ยวกับ การประกอบอาชีพพบว่าโรคที่มีการรายงาน ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุดก็คือโรคพิษสารกำจัด ศัตรูพืชที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง การหายใจ และทางปาก (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ แห่งชาติ. 2547) ชุมชนในตำบลหนองจิกส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ทำนาปลูกข้าว ในการทำนาแต่ละครั้งก็ใช้ต้นทุนสูงมาก เพราะจะใช้ปุ๋ยซึ่งเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง เพื่อปราบศัตรูพืช ตลอดจนสารเพิ่มผลผลิต ปริมาณมากขึ้นทุกปี แต่ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดมีราคาตกต่ำ เกษตรกรประสบปัญหาต่อเนื่องมาตลอดและยังส่งผลไปถึงชุมชนทำให้คนเจ็บป่วยมากขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมทั่วไปทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน น้ำ สิ่งแวดล้อมทั้งหลายส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่สะสมสารพิษตกค้าง ส่งผลกระทบทำให้คนที่อยู่ในชุมชนรับประทานอาหารเข้าไปทำให้สะสมในร่างกาย มีคนเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิกร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านงานวิจัยมุ่งเน้นการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีอย่างยั่งยืน โดยเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้มีความเข้าใจและ เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน มีการศึกษาและใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การทำเกษตรกรรมทางธรรมชาติ การสร้างพลังอำนาจของชุมชน เพื่อการอยู่ร่วมกัน ของชุมชนอย่างสันติ และเอื้ออาทรต่อกัน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ