ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาบ้านอาคต ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
Developing model community in participatory solid waste management in case study of Arecote Village, Bookang Subdistrict, Jom Pra District, Surin

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์รติกร แสงห้าว
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนของหมู่บ้านอนาคต 2. เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับขยะ และการจัดการโดยชาวบ้านในชุมชน 3. เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการจัดการขยะระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านในชุมชน (ต้นแบบ)
คำสำคัญ
การจัดการขยะ การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของชุมชน
บทคัดย่อย
ปัญหาขยะมูลฝอยได้กลายเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนของประเทศได้ให้ความสําคัญ และร่วมมือกันเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนตั้งแต่ต้นทางจนกระทั่งถึงปลายทาง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ภายใต้โครงการ จังหวัดสะอาด โดยอาศัยกลไก ประชารัฐ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง คือ บ้านเรือนของประชาชนมีเป้าหมายลดปริมาณขยะที่เข้าสู่ระบบกำจัดที่ปลายทางให้ลดลงร้อยละ 5 และกำหนดให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลขยะมูลฝอยของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทุกจังหวัดจัดให้มีการประกวด หมู่บ้าน/ชุมชนสะอาด ตำบลละ 3 หมู่บ้าน และ อำเภอสะอาด จังหวัดละ 3 อำเภอ ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาและตัวชี้วัดที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดซึ่งจะดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา และมีการประกวดจังหวัดสะอาดในระดับกลุ่มจังหวัดและระดับประเทศในช่วงสิงหาคม - กันยายน 2560และในส่วนของการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานจังหวัดจะมีการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานมายังศูนย์ปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะเป็นประจำทุกเดือนเพื่อสรุปผลการดำเนินงานเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป อย่างไรก็ตามการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง หรือที่แหล่งกำเนิดจากครัวเรือนถือว่าเป็นแนวทางการจัดการขยะที่ดีที่สุด เพื่อลดปัญหาในด้านต่างๆเกี่ยวกับการจัดการในขั้นกลางทางและปลายทาง เทศบาลตำบลบุแกรง เป็นองค์กรท้องถิ่นหนึ่งที่สอดรับกับนโยบายการลดขยะที่ต้นทาง เทศบาลตำบลบุแกรงมีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้าน จำนวน 1,919 ครัวเรือน หมู่บ้านทั้งหมดนี้ได้รับการส่งเสริมให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการขยะเองในครัวเรือน เนื่องจากทางเทศบาลตำบลบุแกรงไม่มีถังขยะให้ในหมู่บ้านเลยและไม่มีรถเก็บขนขยะ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนช่วยกันลดปริมาณขยะที่ต้นทาง นอกจากนั้นที่ผ่านมาทางเทศบาลตำบล. และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) บุแกรง ได้มีโครงการมากมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะและเคยได้รับรางวัลเกี่ยวกับชุมชนสะอาดมาแล้ว นอกจากนั้นยังได้มีการอบรมให้ความรู้กับผู้นำหมู่บ้านและถ่ายทอดลงสู่ลูกบ้าน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของเทศบาลตำบล ได้สรุปว่าประสบความสำเร็จ ชุมชนมีจิตสำนึกในการช่วยกันดูแลความสะอาดของชุมชนมากขึ้น ซึ่งสังเกตเห็นได้จากความสะอาดของชุมชนอย่างเห็นได้ชัด หรืออาจกล่าวได้ว่า “หน้าบ้านน่ามอง” แต่อย่างไรก็ตามความสะอาดที่ปรากฏเห็นอาจไม่ได้สะท้อนวิธีการหรือรูปแบบการจัดการขยะที่ต้นทางอย่างถูกหลักวิธีการที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถึงแม้ว่าทางเทศบาลตำบลเองจะพยามที่จะให้ความรู้หรือแนวทางการคักแยกขยะแล้วก็ตาม แต่ในขั้นตอนของการจัดการขยะหลังการคัดแยกนั้นทางเทศบาลตำบลเองก็ยังไม่ได้ดำเนินการ ดังนั้นประเด็นคำถามที่คณะผู้วิจัยเห็นว่ามีสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง คือ ชุมชนมีการจัดการกับขยะอย่างไร เมื่อทางองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีถังขยะ ไม่มีรถเก็บขนขยะ และไม่มีที่ทิ้งขยะให้ อีกทั้งอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชุมชนสามารถดำเนินการจัดการด้วยชุมชนเองได้ เพื่อท้ายที่สุดการที่ชุมชนได้รับรู้ในสิ่งที่ตนเองได้ดำเนินหรือปฏิบัติมาและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาขยะร่วมกัน จะทำให้ชาวบ้านนั้นสามารถที่จะพึ่งพาตนเองต่อไปได้ โดยเริ่มที่ครอบครัวและในชุมชนของตนเอง ตราบใดที่ทุกคนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว สุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะอย่างยั่งยืนคู่กับชุมชนอย่างแท้จริง หมู่ 5 บ้านอาคต เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กถึงปานกลางที่มีจำนวน 1,919 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 7,714 คน ซึ่งหมู่ 5 บ้านอาคตนี้เป็นอีกหนึ่งชุมชนของเทศบาลบุแกรงที่พึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเป็นหมู่บ้านที่คณะผู้วิจัยและทางเทศบาลตำบล และรพสต.บุแกรงเห็นว่าเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะให้กับชุมชนขนาดใกล้เคียงกันหรือแม้แต่ชุมชนที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เนื่องจากหมู่บ้านดังกล่าวยังไม่เคยมีหน่วยงานภายนอกเข้าไปให้แนวทางในการจัดการขยะ อีกทั้งผู้นำหมู่บ้านมีความมุ่งมั่นตั้งใจแต่อาจยังขาดแรงผลักดันหรือให้การสนับสนุนจากองค์กรทางวิชาการภายนอกดังกล่าว
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ