ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมในครัวเรือน : กรณีศึกษาบ้านท่างาม ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Study of Household Solid Waste Management : A Case Study of Ban Tha Ngam, Hua Kong Subdistrict, Amphoe Kosum Phisai Mahasarakham province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์นุกูล กุดแถลง
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน บ้านท่างาม องค์การบริหารส่วนตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนโดยใช้รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 3. เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน บ้านท่างาม องค์การบริหารส่วนตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ
การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอย, การมีส่วนร่วมในครัวเรือน, กระบวนการมีส่วนร่วม, ขยะมูลฝอยในครัวเรือน
บทคัดย่อย
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากที่ว่าการอำเภอโกสุมพิสัยทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ตามภาพถ่ายทางอากาศประมาณ 33,750 ไร่ หรือประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่การเกษตร 23,433 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 4 บ้านโชคชัย หมู่ที่ 5 บ้านศรีสุข หมู่ที่ 6 บ้านดอนกลอย หมู่ที่ 7 บ้านหนองยาง หมู่ที่ 8 บ้านแก่งโกสุม หมู่ที่ 9 บ้านหนองยาง หมู่ที่ 14 บ้านท่างาม หมู่ที่ 15 บ้านคุยโพธิ์ หมู่ที่ 16 บ้านแก่งโกสุม หมู่ที่ 17 บ้านดอนกลอย หมู่ที่ 18 บ้านแก่งโกสุม หมู่ที่ 19 บ้านกุดน้ำใส หมู่ที่ 20 บ้านดอนกลอย หมู่ที่ 21 บ้านพงษ์พัฒน์ธานี มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,542 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,622 คน เป็นชาย 4,239 คน เป็นหญิง 4,383 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 187.2 คน/ตารางกิโลเมตร (องค์การบริหารส่วนตำบลหัวขวาง, 2560) จากการลงพื้นที่ศึกษาพบปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในบ้านท่างาม ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดการขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาล นอกจากจะพบปัญหาด้านการกำจัดขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว ระบบการรวบรวมขยะมูลฝอยของพื้นที่ใช้แบบเดียวกันคือระบบถังใบเดียว ( one can system) ในการรองรับขยะมูลฝอยจึงทำให้ไม่มีการแยกขยะก่อนนำไปกำจัด รวมถึงรถที่บรรทุกขยะก็ยังไม่มีระบบแยกในขณะนำไปกำจัด ถังรองรับขยะมูลฝอยในเขตตำบลหัวขวาง ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพดีแต่มีปริมาณไม่เพียงพอกับปริมาณปริมาณของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางด้านต่างๆ เช่น อากาศเสียจากการเผาขยะกลางแจ้ง ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น เมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียไหลลงสู่พื้นที่แปลงเกษตร เป็นแหล่งพาหนะนำโรคจากขยะมูลฝอยตกค้างในพื้นที่ แหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคติดต่อทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนรวมถึงก่อให้เกิดเหตุรำคาญและทัศนียภาพไม่สวยงาม ดังนั้น สมาชิกในครัวเรือนแต่ละครัวเรือนควรตระหนักในปัญหาของขยะมูลฝอยสร้างจิตสำนึกให้แก่ตนเอง ให้รู้จักรับผิดชอบในการลดปริมาณขยะมูลฝอย แยะขยะมูลฝอย และนำขยะมูลฝอยมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นความท้าทายจุดเปลี่ยนพฤติกรรม ความรู้สึกของคนทุกคนที่อดีตเคยคิดว่าการเก็บขยะ การแยกขยะ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา วันนี้ขยะคือภารกิจของเราทุกคนบนโลกใบนี้ ความไม่รู้ของผู้คนทั้งหลายที่ร่วมกันทิ้งขยะออกมาจากบ้าน คิดแต่เพียงว่าจะโยนสิ่งสกปรกต่างๆ ให้พ้นบ้านไป แล้วในบ้านเราจะเกิดความสะอาด ขยะที่พ้นจากประตูบ้านทุกหลังออกไป ขยะเหล่านั้นไปสร้างผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม กลายเป็นมหันตภัย ความเลวร้าย ที่สะสมมากจนกลายเป็นวิกฤตการณ์วิบัติของโลก ที่ทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ (ปัญหาโลกร้อน) ถึงเวลาแล้วที่ภารกิจของการจัดการขยะด้วยสองมือของทุกคน วิธีการแบบง่ายๆ และการสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบทางสังคม (สมไทย วงษ์เจริญ, 2551) ด้วยเหตุดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษา การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมในครัวเรือน : กรณีศึกษาบ้านท่างาม ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อพัฒนาศักยภาพพลังชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยโดยใช้รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน ให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยได้สูงสุด และสามารถเป็นแนวทางวางแผนเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย อันจะนำไปสู่การสร้างทัศนียภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ