ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์
Participation of Community to Solid Waste Separation Case Study : Loa Aoy Subdistrict Administration Organization, Rong Kham District, Kalasin Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์เชิดชัย สมับติโยธา
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนโดยใช้รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การคัดแยกขยะที่ต้นทาง, องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย
บทคัดย่อย
องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ มีจำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตทั้งสิ้น จำนวน 12 หมู่บ้าน จากการลงพื้นที่เพื่อดูปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยพบว่า การจัดเก็บขยะมูลฝอยภายในชุมชน การคัดแยกขยะมูลฝอย การนำขยะมูลฝอยไปทิ้ง ครัวเรือนต่างๆต้องจัดการเอง โดยอบต.มีพื้นที่สำหรับทิ้งมูลฝอยให้ชุมชนนำไปทิ้งจำนวน 14 ไร่ อยู่ห่างจากชุมชนประมาณ 1 กิโลเมตร อบต.มีโครงการธนาคารขยะจำนวน 1 แห่ง ปัจจุบันดำเนินการอยู่แต่ยังไม่สำเร็จเนื่องจากชุมชนให้ความร่วมมือน้อย การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนยังไม่มีความเข้มแข็งและการเก็บสถิติต่างๆยังไม่มีระบบ อบต.มีการรณรงค์ส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อให้ทุกครัวเรือนสามารถเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมแต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบล ดังนั้นการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนควรต้องเริ่มที่ชุมชน ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาส่วนร่วม การจัดทำโครงการ . “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์” จึงเป็นโครงการหนึ่งโดยการริเริ่มจากการมีส่วนร่วมภายในชุมชนและขยายไปสู่ระบบตำบลที่ดำเนินการอยู่ภายใต้ปัญหาที่ชุมชนต้องการแก้ไขอย่างแท้จริงและการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนมีการจัดการอย่างเป็นรูปธรรมที่แท้จริงต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุป

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ