ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กรณีศึกษา เทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
Participation of Community to Solid Waste Separation Case Study : Sra Phang Thong Municipal District, Khao Wong District, Kalasin Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวสุกจิตต์ ภูมิพระบุ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในเทศบาลตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนโดยใช้รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การคัดแยกขยะที่ต้นทาง, เทศบาลตำบลสระพังทอง
บทคัดย่อย
แนวนโยบายให้การจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นวาระเร่งด่วนและสำคัญยิ่งของประเทศ โดยมีแนวทางการจัดการมูลฝอยในระดับประเทศรวมถึงระดับภาคและในระดับท้องถิ่นที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจัดการมูลฝอยหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการเข้าใจสถานการณ์การจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศไทยจะทำให้รู้ถึงสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ สภาวการณ์ในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ตลอดจนแนวทางในการกำจัดขยะมูลฝอยซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อันจะนำไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย 23.93 ล้านตัน มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.03 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในปีพ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย 24.11 ล้านตัน มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.03 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน 1.04 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในปีพ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย 24.73 ล้านตัน มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.05 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในปีพ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอย 26.19 ล้านตัน มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.11 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน (สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย, 2558) จะเห็นว่าปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ