ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
Occupational Promotion of the Elderly Based on Local Resources by Community Participation of Sangto Sub district, Khueang Nai District, Ubon Ratchathani Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวฤทัยภัทร ให้ศิริกุล
ผู้ร่วมวิจัย : นายกิตติกวินท์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ ดร.ณปภัช วรรณตรง
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
ข้อ 1 เพื่อศึกษาบริบทผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ข้อ 2 เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาอาชีพเสริมกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ข้อ 3 เพื่อค้นหาแนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ
-,ผู้สูงอายุ,คุณภาพชีวิต ,คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ,อาชีพ,กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ ,ทรัพยากรท้องถิ่น ,ชุมชน,แนวทาง,ส่วนร่วม
บทคัดย่อย
-ประเทศไทยได้เข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ รัฐบาล (คสช.) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการเตรียมการรองรับ เพื่อขับเคลื่อน "สังคมผู้สูงอายุ” ทั้งต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่เด็กวัยแรกเกิดจนถึงวัยของผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (Life Cycle) โดยดำเนินโครงการต่างๆเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เยาวชน ตลอดจนการจัดทำข้อเสนอมุมมองทิศทางของสังคม 20 ปีข้างหน้าตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 2. การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ 3. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 4. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส โดยขับเคลื่อนการปฏิบัติของศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีการสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพ มีจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ สนับสนุนให้มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อยส.) เป็นกลไกในระดับชุมชน รูปแบบการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือ การกำหนดแนวทางหรือกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุมีความพอใจในชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขภาพกายและใจที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) คุณภาพชีวิตด้านกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกายและสุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย 2) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิต รวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย 3) คุณภาพชีวิตด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 4) คุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคง
เอกสารงานวิจัย
  1. แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุบนพื้นฐานทรัพยากรท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลสร้างถ่อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  2. แบบสรุปโครงการวิจัย 11 กค บ้านไทย
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5
  8. ปก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ