ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การจัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชชุมชนบ้านชาด ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
Management of Local Herbal Wisdom to Prevent and Control Pestsof Choomchonbanchad, MuangPhon Sub-district, Phon District, KhonKaen Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.จารินี ม้าแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์สมยงค์ โสมอินทร์ อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ อาจารย์ ดร.สรรเพชร เพียรจัด
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. ศึกษาศักยภาพและทุนทางสังคมกับการจัดการตนเองด้านภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ชุมชนบ้านชาดตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 2. จัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ชุมชนบ้านชาด ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 3. จัดทำแผนนโยบายสาธารณะสู่การทำเกษตรอินทรีย์ด้วยการจัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชชุมชน,การจัดการภูมิปัญญา,สมุนไพร, การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช,ทุนทางสังคม,แผนนโยบายสาธารณะ
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่องการจัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชชุมชนบ้านชาด ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เกษตรได้รู้ถึงศักยภาพและทุนทางสังคมกับการจัดการตนเองด้านภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของตนเอง 2) เกษตรกรเกิดความรู้ เจตคติ และสามารถปฏิบัติการจัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของตนเองได้ 3) เกิดแผนนโยบายสาธารณะสู่การทำเกษตรอินทรีย์ด้วยการจัดการภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พื้นที่การดำเนินงานวิจัย หมู่ 1 บ้านชาด ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาต่อไป ผลวิจัยพบว่า บริบทของชุมชนบ้านชาด ส่วนใหญ่ทำอาชีเกษตรกรรม มีลักษณะพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรเป็นพื้นที่ของตนเองมีการทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ปัญหาศัตรูพืชที่พบในพื้นที่ มีดังนี้ หนอน เพลี้ยแป้ง เต่าทอง สมุนไพรพื้นถิ่นในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ สะเดา คูณ ตะไคร้หอม ระดับองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง แมลงศัตรูพืชเข้าทำลายตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยการกัดกินใบ ยอดอ่อน ตาดอก ดอก และลำต้น หรือการดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดอ่อน ตาดอก และกิ่งอ่อน การเข้าศึกษาดูงานสถานีสาธารณียธรรม และอบรมเรียนรู้ที่ไร่อธิศพัฒน์ ทำให้เครือข่ายเกษตรอินทรีย์กู้ชาติเกิดการระเบิดจากข้างใน เริ่มมีเป้าหมายและภาพฝันของตนเองที่ชัดเจนขึ้น และมองเห็นแนวทางที่จะดำเนินการทำเกษตรอินทรีย์ให้สำเร็จและได้เกิดสูตรน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลงดังนี้ 2 สูตร นำไปใช้จริงในพื้นที่แปลงเกษตร เห็นผลชัดเจน 80% ส่งผลให้เกิดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในชุมชน เกิดการขยายผลเกิดศูนย์เรียนรู้ การถอดบทเรียนกระบวนการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาเป็นแผนนโยบายของพื้นที่ตำบลบ้านยาง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ค้นหาความจริง 2) เรียนรู้เติมปัญญา 3) นำไปสู่การปฏิบัติทดลอง 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ดูงานพื้นที่เครือข่าย 6) หลากหลายผลิตภัณฑ์ 7) สร้างสรรค์สังคมเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้เกิดเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการนำความรู้ ด้านภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นถิ่นในการกำจัดศัตรูพืช โดยกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เอกสารงานวิจัย
  1. บทที่1
  2. บทที่2
  3. บทที่ 3
  4. บทที่4
  5. บทที่5
  6. บทที่6
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. ปก
  10. บทคัดย่อ
  11. กิตติกรรมประกาศ
  12. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ