ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าด้านอาหาร-สัตว์เศรษฐกิจ(กบ)โดยการจัดการตนเอง :องค์การบริหารส่วนตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
-Value creation and value-added in food-economic animal (Frog) by self-management of Yangkham sub-district community, Phonsai district, Roi-Ed province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายเชาวฤทธิ์ โสภักดี
ผู้ร่วมวิจัย : นายวราวุธ จอสูงเนิน
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการเลี้ยงกบในชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการเลี้ยงกบที่เหมาะสมกับชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสัตว์เศรษฐกิจ(กบ)
คำสำคัญ
การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม ,อาหารชุมชน/อาหารท้องถิ่น ,กบ
บทคัดย่อย
บทคัดย่อ หัวข้อวิจัย การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้านอาหาร-สัตว์เศรษฐกิจ(กบ)โดยการจัดการ ตนเองของชุมชนตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ดำเนินการวิจัย นายเชาวฤทธิ์ โสภักดี และคณะ หน่วยงาน สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ รหัสโครงการ 58-03360-BRU-006-05 งบประมาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปีวิจัย 2560 ___________________________________________________________________ การวิจัยเรื่องการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้านอาหาร-สัตว์เศรษฐกิจ(กบ)โดยการจัดการตนเองของชุมชนตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการเลี้ยงกบในชุมชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการเลี้ยงกบที่เหมาะสมกับชุมชน และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสัตว์เศรษฐกิจ(กบ) กลุ่มเป้าหมายหลักของการทำวิจัยในครั้งนี้ คือกลุ่มผู้เลี้ยงกบในชุมชนตำบลยางคำ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 31 คน และกลุ่มผู้บริโภคกบในชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลยางคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงกบส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือทำนาและเลี้ยงกบเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูฝน สมาชิกกลุ่มทุกคนมีพื้นที่ในการทำบ่อเลี้ยงกบเป็นของตนเอง บ่อเลี้ยงกบมีทั้งแบบบ่อดินและบ่อปูน ซึ่งบ่อดินจะมีต้นทุนน้อยกว่าบ่อปูนแต่ก็ยากต่อการดูแลรักษากว่าเช่นกัน จากข้อมูลเชิงสถิติและการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความสอดคล้องกัน คือเกษตรกรผู้เลี้ยงกบทั้งหมดต้องการเงินทุนสนับสนุน ตลาดรับซื้อกบที่ให้ราคาสูง บางคนต้องการคู่มือในการเลี้ยงกบ และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการสังเกตและสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่า อาชีพเลี้ยงกบถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน และหากรวมกลุ่มกันอย่างเป็นรูปธรรมก็จะสามารถดึงดูดให้ตลาดพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อกบในชุมชนเพื่อการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือการดำเนินชีวิตตามวิถีพอเพียงของคนในชุมชนตำบลยางคำ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ Abstract Research Title Value creation and value-added in food-economic animal (Frog) by self-management of Yangkham sub-district community, Phonsai district, Roi-Ed province. Researcher Mr Chaowarite Sophakdee et al. Organization Social Development program, Humanity and Social Sciences Faculty, Buriram Rajabhat University. Project Code 58-03360-BRU-006-05 Research Completed April 2018 Research Year 2017 ______________________________________________________________ The purposes of the research on value creation and value added of food-economic animals (Frog)by Self-Management of Yang Kham sub-district, Phon Sai district, Roi Et province were as follows 1) to analyze and synthesize the present situation of frog raising in the community; 2) to study the appropriate frog farming process; and 3) to analyze the patterns of value creation and value added for economic animals (frogs). The sample of this research was a group of frog raising in the community of Tambon Yang Kham, Phon Sai district, Roi Et, 31 people in community and a group of people who usually eat frog. This research is a participation research, by working together between Yang Kham Community, Sub-district Administration Organization, Buriram Rajabhat University and the Health Promotion Foundation (NESDB). The research found that, most of the farmers who raising frog are mainly growing rice and raising frogs as a supplementary in the rainy season. All members have their own land to make the frog farms. The frog ponds made by soil and concrete. Soil ponds are less expensive than concrete ponds, but they are more difficult to maintain. Statistical data and in-depth interviews showed that all frog farmers need funding, Valuable price for selling their frog in the market, some people need a guide book about how to raise frogs and value added in frog processing. In participant observation and asking the researchers found that, the frog farming is another profession that can generate income for farmers sustainably, and if the frog farmers can grouped together as a big frog farm it can attract the middleman market to come and buy frogs in the community for export to another country, and most importantly are sufficiency living of the people in the community, helping each other, participate in self-management, make the community stronger and more self-reliant.
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. กิตติกรรมประกาศ
  3. คำนำ
  4. บทคัดย่อ
  5. สารบัญ
  6. สารบัญตาราง
  7. สารบัญภาพ
  8. บทที่1
  9. บทที่2
  10. บทที่3
  11. บทที่4
  12. บทที่5
  13. บทที่6
  14. บรรณานุกรม
  15. ผนวก ก
  16. ผนวก ข
  17. ผนวก ค
  18. คู่มือสสส อ เชาวฤทธิ์ โสภักดี

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ