ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนของ ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Guidelines for Creating Economic Value from Community Forest of Khokphra Subdistrict, Kantharawichai District, Mahasarakham Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์
ผู้ร่วมวิจัย : นายพิพัฒน์ ประจญศานต์ นายอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1.เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน 2. เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนของตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม "
คำสำคัญ
การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ, ป่าชุมชน
บทคัดย่อย
"แนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนของตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน และ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชน กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน และกลุ่มแม่บ้านในชุมชนบ้านหนองโก ใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนา ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน สามารถแบ่งข้อมูลพื้นฐานออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านอาหาร เช่น เห็ด หน่อไม้ กระท้อน มะม่วงป่า สะเดา มะขาม ด้านการใช้ประโยชน์ เช่น ต้นกก ต้นตะโก เป็นต้น และ 2) การศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชน พบว่า ในพื้นที่ป่าชุมชนมีการเพาะปลูกต้นไหลหรือกกราชินีภายในบริเวณวัดป่าชุมชน และบริเวณไร่สวนในชุมชน โดยมีการนำต้นไหลหรือต้นกกมาทอเป็นเสื่อ จำนวน 2-3 หลังคาเรือน ซึ่งยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านของชุมชน จากผลการสำรวจแนวทางการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผู้วิจัยได้ดำเนินประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำชุมชนถึงผู้ที่มีความสนใจในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเสื่อกกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พบว่า มีผู้ให้ความสนใจ จำนวน 15 - 20 คน และได้ดำเนินจัดกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเสื่อกก สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรายการมีการจัดจำหน่ายในชุมชนที่เรียกว่าตลอดนัด ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักสรุปได้ว่าควรมีการรวบรวมสมาชิกให้ได้ครอบคลุมทั้งชุมชน และควรมีการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์การทอเสื่อจากต้นกกเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม "
เอกสารงานวิจัย
  1. แบบสรุปโครงการวิจัยเรื่องที่ 3
  2. หน้าปก
  3. บทคัดย่อไทย-อังกฤษ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. สารบัญ
  6. บรรณานุกรม
  7. ภาคผนวก ก กิจกรรม
  8. ภาคผนวก ข ประวัติผู้วิจัย
  9. บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
  10. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  11. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
  12. บทที่ 4 บริบทพื้นที่ศึกษา
  13. บทที่ 5 การดำเนินงานและการวิเคราะห์
  14. บทที่ 6 สรุป อภิปราย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ