ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
Finding Appropriate Practices in Participatory Community Forest Management of Sri Narong Sub-district, Chumphon Buri District, Surin Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา
ผู้ร่วมวิจัย : นายพิพัฒน์ ประจญศานต์ นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1. หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 2. เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์"
คำสำคัญ
แนวปฏิบัติที่เหมาะสม, การจัดการป่าชุมชน, การมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
"การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. หาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และ 2. เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชนตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรป่าของชุมชนนี้ ใช้รูปแบบของการจัดเป็นกลุ่มหรือแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลป่าชุมชน เกิดกลุ่มคณะทำงานในการจัดการป่าชุมชน เป็นหมู่บ้านที่อยู่รอบป่า 3 หมู่บ้าน รวม 30 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน คนที่ใช้ประโยชน์จากป่า เป็นกลุ่มในการขับเคลื่อน ส่งเสริม กระตุ้นให้คนในชุมชนในการจัดการป่าชุมชน มีการสำรวจทรัพยากรในป่า เน้นการดูแลและใช้ประโยชน์จากป่า ทำให้เกิดองค์ความรู้การบริหารจัดการป่าในชุมชน และมีข้อตกลงในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยคนในชุมชนผ่านการตั้งกฎระเบียบเป็นข้อปฏิบัติในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนโดยเน้นผู้นำและผู้ที่ใช้ประโยชน์จากป่า ผู้ที่เคยบุกรุกป่ามาก่อน เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มหรือกรรมการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ช่วยดูแลป่า สอดส่องการเข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่าแห่งนี้ มีการดำเนินกิจกรรมในการดูแลรักษาป่า เช่น ทำรั้วแนวเขตเสารอบป่าป้องกันการบุกรุก การปลูกป่าในวันสำคัญ ทำพิธีบวชป่า ในส่วนการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ป่าชุมชน ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการป่าร่วมกันของพื้นที่ มีข้อตกลงออกกฎการใช้ป่าร่วมกัน มีบทลงโทษผู้บุกรุกป่า มีอาสาสมัครพิทักษ์รักษาป่าของชุมชน ซึ่งปัจจัยส่งเสริม ในการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของ อบต. โดยมีการขับเคลื่อนโดยการให้ความรู้ในเรื่องการจัดการป่า มีการสร้างเครือข่ายการทำงานในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำ ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ เด็กเยาวชน กลุ่มองค์กรและหน่วยงานราชการภายนอก เพื่อแลกเรียนเรียนรู้ร่วมกัน 2) การหนุนเสริม เน้นหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา อบรมแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าให้กับชุมชน และอบรมการใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลป่าให้กับชุมชน ส่วนข้อจำกัดและอุปสรรค ของการแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าของชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนทัศนคติและพฤติกรรม คนในชุมชนคิดว่าการดำเนินงานขึ้นอยู่กับผู้นำ และด้านปัจจัยสนับสนุนภายนอก คือ งบประมาณในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลรักษาป่า เช่น การทำรั้วกั้นเขตป่า ป้ายประกาศเขตป่า เป็นต้น "
เอกสารงานวิจัย
  1. แบบสรุปโครงการวิจัย
  2. ปก
  3. 2.-บทคัดย่อภาษาไทย
  4. 3.-ABSTRACT
  5. 6. บทที่ 1 บทนำ
  6. 7. บทที่ 2 เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง-ปิดเล่ม
  7. 8. บทท 3 วิธีดำเนินการวิจัยป่า-ปิดเล่ม1
  8. 9. บทที่ 4 บริบทพื้นที่ศึกษา-ปิดเล่ม
  9. 10. บทที่ 5 การดำเนินงานและวิเคราะห์ผล-ป่า อบต.ศรีณรงค์ Joe-ปิดเล่ม
  10. 11. บทที่ 6 สรุป อภิปรายผล ป่าศรีณรงค์-ปิดเล่ม
  11. 12. อ้างอิง
  12. 13. ภาคผนวก ก แบบเก็บข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชุมชน
  13. 14. ภาคผนวก ข แบบประเมินความความรู้ความเข้าใจการใช้เครื่องมือ new
  14. 15 ภาคผนวก ค ประวัติคณะวิจัย สสส อ.อุดมพงษ์
  15. บทที่ 1-5 คู่มือการจัดการป่า

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ