ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Finding Appropriate Practices in community forest management with community involvement of Khokphra Subdistrict, Kantharawichai District, Mahasarakham Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์
ผู้ร่วมวิจัย : นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์ นายอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา นายพิพัฒน์ ประจญศานต์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชนตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม "
คำสำคัญ
การจัดการป่าชุมชน, การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสม
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และ 2) เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์จากป่าโดยชุมชนตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กระบวนการมีส่วนร่วมและการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชน โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และชุมชน มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน และการศึกษาดูงานในพื้นที่ตัวอย่าง ผลการวิจัยแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชน ได้ดำเนินการจัดเป็นกลุ่มหรือแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลป่าชุมชน รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาจัดการตนเองโดยที่ผู้นำมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินการในพื้นที่บ้านหนองโก ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิเชียร จังหวัดมหาสารคาม คณะกรรมการหมู่บ้านหนองโกมีการตั้งกฎระเบียบเป็นข้อปฏิบัติร่วมกันโดยให้ชุมชน กลุ่มเยาวชนช่วยในการขับเคลื่อนการรักษาป่าผ่านกิจกรรม เช่น การทำแผนที่ป่าด้วยเครื่องมือ GPS การสำรวจความสมบูรณ์ของป่า กิจกรรมทำป้ายรณรงค์อนุรักษ์ป่า ค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่า พิธีบวชป่าและติดป้ายรณรงค์รอบป่าตั้งศาล
เอกสารงานวิจัย
  1. แบบสรุปโครงการวิจัยเรื่องที่ 1
  2. หน้าปก
  3. บทคัดย่อไทย-อังกฤษ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. สารบัญ
  6. บรรณานุกรม
  7. ภาคผนวก ก กิจกรรม
  8. บทที่ 1
  9. บทที่ 2
  10. บทที่ 3
  11. บทที่ 4
  12. บทที่ 6 สรุป อภิปรายผล
  13. บทที่ 5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ