ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Finding Appropriate Practices in Waste Management and Reducing Waste in Households in Banpai Subdistrict, Banpai District, Khonkaen Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา
ผู้ร่วมวิจัย : นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์ นายพิพัฒน์ ประจญศานต์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะ,การใช้ประโยชน์จากขยะ
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และเพื่อลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนเป้าหมาย คือ ชุมชนบ้านหัวหนองผักแว่น หมู่ 9 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 50 ครัวเรือนโดยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ชุมชนมีการคัดแยกขยะด้วยตนเองในระดับครัวเรือน เช่น มีการคัดแยกขยะขาย การแยกขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยและนำไปให้อาหารสัตว์เลี้ยง และการเผาการฝังกลบขยะในพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งปัจจัยส่งเสริมการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการของ อบต. บ้านไผ่ โดยมีการขับเคลื่อนโดยการให้ความรู้และการรณรงค์ในเรื่องการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนให้มีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางโดยแยกขยะขายได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก การเผาทำลายขยะที่ย่อยสลายยากในครัวเรือน ด้านทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน มีขวัญ กำลังใจ พลังในการขับเคลื่อนที่จะเป็นต้นแบบ มีกติกา ข้อตกลง กฎระเบียบการจัดการขยะในชุมชน และ 2) การลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ชุมชนบ้านหัวหนองผักแว่น หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านไผ่ มีการกำจัดขยะโดยใช้วิถีชีวิตของชุมชนเอง ได้แก่ การเลี้ยงไส้เดือนจากขยะเปียก เศษอาหารต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน การใช้ประโยชน์จากขยะเปียก เศษอาหารต่าง ๆ ในการนำไปทำปุ๋ยหรือน้ำหมักไว้ใช้ในครัวเรือน เป็นต้น นอกจากนี้ชุมชนเน้นการจัดตั้งกลุ่ม การสื่อสารและการถ่ายทอดให้เกิดการขับเคลื่อน ทำให้คนในชุมชนตระหนัก การมีจิตสำนึกในเรื่องการจัดการขยะ มีความภาคภูมิใจในชุมชนตนเอง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. 2. บทคัดย่อภาษาไทย
  3. 3. ABSTRACT
  4. 7. บทที่ 1 บทนำ
  5. 8. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  6. 9. บทท 3 วิธีดำเนินการวิจัย
  7. 10. บทที่ 4 บริบทพื้นที่ศึกษา
  8. 11. บทที่ 5 ผลการประเมินข้อมูลพื้นฐาน
  9. 12. บทที่ 6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
  10. 13. รายการอ้างอิง

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ