ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนารูปแบบการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง ตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
Development of stress coping model for caregivers of Elderly with Chronic Diseases in Wang Thong, Wang Sombun district, Sa Kaeo province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ฉัตรประภา ศิริรัตน์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง 3. เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง
คำสำคัญ
ความเครียด,การเผชิญความเครียด,ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
บทคัดย่อย
การดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง ผู้ดูแลต้องเข้าใจธรรมชาติของความเจ็บป่วย รวมถึงการสื่อสารกับผู้สูงอายุ และจัดการภาวะวิกฤติ ปัญหาต่าง ๆ ทำให้ผู้ดูแลได้รับผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิต อารมณ์ และสังคม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดและส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง และปัจจัยทำนายความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรัง ตำบลวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของแดเนียลและใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ