ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
Appropriate Practices for Household Waste Management and Waste Reduction in Udomporn Subdistrict, FaoRai District, Nong khai Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวสุดารัตน์ ปีนะภา
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวเมษยา บุญสีลา นายธวัชระพงษ์ วงศ์สกุล
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการและลดปริมาณขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร 2. เพื่อขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร "
คำสำคัญ
การจัดการขยะ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
งานวิจัยเรื่องการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการและลดปริมาณขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร และเพื่อขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพร โดยในการศึกษาวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการ ด้านบุคลากร พื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (3) ประชุมเชิงปฏิบัติเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลหาแนวทางการแก้ปัญหาและรูปแบบแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะ และ (4)ติดตามผล ประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปผล ผู้ดำเนินการวิจัยใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม จัดเวทีประชุมชาวบ้าน โฟกัสกรุ๊ป ถอดบทเรียน และสรุปบทเรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลจากการดำเนินการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลอุดมพร อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย คือ การส่งเสริมให้ปรับพฤติกรรมการใช้สินค้าอุปโภคและบริโภค มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะในครัวเรือน มีความรู้และทักษะในด้านการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ รวมถึงการส่งเสริมให้สมาชิกมีบทบาทในการจัดการตนเองร่วมกับชุมชนของตน ส่วนในด้านการขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลอุดมพรนั้น ควรส่งเสริมให้สมาชิกหรือผู้นำชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่หรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จ มีการกำกับ ติดตาม เพื่อนำผลจากการเรียนรู้มาวางแผนกิจกรรมหรือโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน มีกิจกรรมเพื่อสร้างจูงใจ สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
เอกสารงานวิจัย
  1. บทคัดย่อ
  2. ปกนอก-ปกใน
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. บทที่ 1 บทนำ
  5. บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
  6. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
  7. บทที่ 4 บริบทพื้นที่ศึกษา-ขยะ
  8. บทที่ 5 ปฏิบัติการวิจัยในพื้นที่-ขยะ
  9. บทที่ 6 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
  10. บรรณานุกรม
  11. ภาคผนวก ภาพกิจกรรม
  12. สารบัญ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ