ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
Appropriate Practices for Household Waste Management and Waste Reduction in Banyang Subdistrict, Phutthaisong District, Buriram Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวสุดารัตน์ ปีนะภา
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวเมษยา บุญสีลา นางสาววงจันทร์ พูลเพิ่ม
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1. เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการและลดปริมาณขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านยาง 2. เพื่อขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านยาง "
คำสำคัญ
การจัดการขยะ การวิจัยแบบมีส่วนร่วม
บทคัดย่อย
"งานวิจัยเรื่องการหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการขยะและลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการจัดการและลดปริมาณขยะในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านยาง และเพื่อขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านยาง โดยในการศึกษาวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมการ ด้านบุคลากร พื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (3) ประชุมเชิงปฏิบัติเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลหาแนวทางการแก้ปัญหาและรูปแบบแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการจัดการขยะ และ (4)ติดตามผล ประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปผล ผู้ดำเนินการวิจัยใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม จัดเวทีประชุมชาวบ้าน โฟกัสกรุ๊ป ถอดบทเรียน และสรุปบทเรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลจากการดำเนินการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมในครัวเรือนของชุมชนในตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คือการส่งเสริมให้ปรับพฤติกรรมการใช้สินค้าอุปโภคและบริโภค การคัดแยกขยะภายในครัวเรือน และการสร้างกฎ กติกา หรือกลไกชุมชนสำหรับขับเคลื่อนให้การจัดการขยะในครัวเรือนเป็นไปได้ตามเป้าหมาย ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน การหาพื้นที่ทิ้งขยะหรือจัดเก็บเพื่อกำจัดขยะ และการส่งเสริมการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ ส่วนในด้านการขยายผลแนวปฏิบัติการลดปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนของชุมชนตำบลบ้านยางนั้น พบว่ายังไม่สามารถดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในระดับตำบลได้ มีเพียงบางหมู่บ้านที่มีแนวคิดในการสร้างกฎ กติกา ในชุมชน เพื่อให้สามารถสร้างความเข้มแข็งและเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นได้ นอกจากนี้ในภาพรวมระดับตำบลมีการวางแผนการดำเนินการตามลักษณะความพร้อมของชุมชนและบริบทของชุมชนโดยวางแผนให้ความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะควบคู่ไปกับการรณรงค์การจัดการขยะให้ถูกวิธี "
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บท1 บทนำ
  6. บท2 ทบทวนวรรณกรรม
  7. บท3 ออกแบบปฏิบัติการวิจัย
  8. บท4 บริบทพื้นที่
  9. บท5 ปฏิบัติการวิจัย
  10. บท6 สรุปและอภิปราย
  11. บรรณานุกรม
  12. ภาคผนวก

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ