ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
MIS of Allowance for Elder Persons in Khok Khamin Sub District, Phlapphlachai District, Buriram Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวแสงดาว นพพิทักษ์
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวนิธินันท์ มาตา
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
"1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการเชิงระบบของการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 4) เพื่อหาความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์"
คำสำคัญ
ระบบสารสนเทศ, เบี้ยยังชีพ, ผู้สูงอายุ, เว็บแอปพลิเคชั่น
บทคัดย่อย
งานวิจัย เรื่อง ระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อวิเคราะห์ความต้องการเชิงระบบของการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อวิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเพื่อหาความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในขอบเขตพื้นที่ศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผลจากสร้างชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานได้แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ตำบลโคกขมิ้น แบ่งตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use) ตามลำดับมากไปหาน้อย พบว่า มีพื้นที่เกษตรกรรมร้อยละ 88.45 พื้นที่ป่าริมน้ำและป่าชุมชนร้อยละ 4.27 พื้นที่แหล่งน้ำร้อยละ 3.91 และพื้นที่ชุมชนร้อยละ 3.37 2. ผลการวิเคราะห์ความต้องการเชิงระบบ ประกอบด้วย 5 ความต้องการเชิงระบบหลัก ได้แก่ เรียกดูข้อมูลผู้รับเบี้ย บันทึกการขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ย บันทึกการจ่ายเบี้ย บันทึกการจำหน่ายผู้รับเบี้ย และออกรายงาน จากการออกแบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ นำเสนอผ่านทางแผนภาพอี-อาร์ไดอะแกรม (E-R Diagram) 3. ผลการวิเคราะห์ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 รีเลชัน ได้แก่ รีเลชัน (relation) ผู้รับเบี้ย รีเลชันบัญชีเงินฝาก และรีเลชันการขึ้นทะเบียนผู้รับมอบอำนาจ 4. ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application) พัฒนาด้วยภาษาโปรแกรมและระบบจัดการฐานข้อมูล ประกอบ ดังนี้ HTML, HTML5, CSS, CSS3, JavaScript, Ajax, SQL, PHP, Responsive Web Design, โปรแกรม Text Editor, MySQL, โปรแกรม PhpMyadmin และความรู้ด้านฐานข้อมูล ได้ระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชันการทำงานหลัก ได้แก่ การค้นหาข้อมูลผู้สูงอายุ การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ย การบันทึกการจ่ายเบี้ย การบันทึกการจำหน่ายผู้รับเบี้ย และการออกรายงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ อบต.โคกขมิ้นเป็นใช้งานระบบ ซึ่งต้องลงชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานในระบบ และ 5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบระบบสารสนเทศการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.30
เอกสารงานวิจัย
  1. ระบบสารสนเทศ
  2. แบบสรุปโครงการวิจัย
  3. แบบสรุปโครงการวิจัย-แสงดาว-MAP
  4. แบบสรุปโครงการวิจัย-ดาว-MIS จ่ายเบี้ย
  5. แบบสรุปโครงการวิจัย-ดาว-MIS จ่ายเบี้ย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ