ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการตำบลเเบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาตำบลเครือข่ายคู่ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ทต.เจ็ดเสมียน
Modeling of participatory subdistrict administration: a case study of cooperative network of Nakhon Pathom Rajabhat University

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นางสาวฉลองบูรณ์ เพ็งลำ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลเครือข่ายคู่ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการตำบลแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลเครือข่ายคู่ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ได้บัญญัติรับรองหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การกำหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ ในการดำเนินงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดำเนินการให้ประชาชนทราบ โดยต้องมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องมุ่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาข้อมูลชุมชมภาคสนามและข้อมูล RECAP พื้นที่ต่าง ๆ ในตำบลเครือข่ายคู่ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมพบว่าหลายพื้นที่มีการบริหารจัดการพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามจากการสะท้อนข้อมูลของประชาชนในพื้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้การบริหารตำบลโดยองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีการจัดการที่ดี แต่การบริหารจัดการดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวนโยบายของรัฐเป็นหลัก ซึ่งเป็นการบริหารจัดการการจัดทำแผนที่ให้ประชาชนภายในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมแค่เพียงกระบวนการในการจัดทำแผน แต่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้จัดให้ทั้งหมด นอกจากนี้จากข้อมูล RECAP พบว่าบางกิจกรรม/โครงการตามแผนพัฒนา เป็นกิจกรรม/โครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก ขาดการมีส่วนร่วมหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามีส่วนร่วม ซึ่งจากการสะท้อนข้อมูลของประชาชนในพื้นที่จากเก็บข้อมูลภาคสนาม และความเห็นพ้องต้องกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่าเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นที่เหมาะสมควรมีกระบวนการหรือรูปแบบที่เหมาะสมในการบริหารจัดการตำบลโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้น จากปัญหาและการสะท้อนข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าวจากประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยความเห็นร่วมกันของคณะผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรมีการศึกษาการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการตำบลแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ตำบลเครือข่ายคู่ความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้แก่ เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และองค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เพื่อแสวงกระบวนการ แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของตำบลต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการตำบลแบบมีส่วนร่วม และนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการตำบลแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับพื้นที่ในภูมิภาคตะวันตกต่อไป
เอกสารงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ