ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาพื้นที่แหล่งปลูกแคนตาลูปให้เป็นรูปแบบโรงเรือน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยชุมชนมีส่วนร่วม
The Development of Cantaloupe Planting Area is a Greenhouse for Agricultural Tourism, Tambon Muang Phai, Aranyaprathet District. Sakaew Province The Community is Involved.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์จุรีรัตน์ หนองหว้า
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ปวริศา เลิศวิริยะประสิทธิ์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งปลูกแคนตาลูป ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อพัฒนาพื้นที่แหล่งปลูกแคนตาลูปให้เป็นรูปแบบโรงเรือน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยชุมชนมีส่วนร่วม
คำสำคัญ
รูปแบบโรงเรือน,การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและศักยภาพ
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งปลูกแคนตาลูป และพัฒนาพื้นที่แหล่งปลูกแคนตาลูปให้เป็นรูปแบบโรงเรือน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 364 คน ที่มีอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป ประชาชน/คนในท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ผลการวิจัย พบว่า สถานภาพผู้ตอบที่เป็นประชาชน/คนในท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 82.1 บุคลากรภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 10.4 และเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูป คิดเป็นร้อยละ 7.4 มีอายุ 41 – 50 ปี และสูงกว่า50 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท เกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูปส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการปลูกแคนตาลูป จำนวน 5 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 100,001 – 150,000 บาท และปลูกแคนตาลูปมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี ศักยภาพของพื้นที่เกษตร (แหล่งปลูกแคนตาลูป) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีศักยภาพด้านสิ่งดึงดูดใจ เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านการเข้าถึง และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไป ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วไป กล่าวคือ มีศักยภาพเกี่ยวกับระบบของเครือข่ายและการสื่อสารทางโทรศัพท์ชัดเจน ระบบของไฟฟ้าสามารถเข้าถึงพื้นที่ และมีน้ำประปาใช้ตลอดปี ตามลำดับ ด้านสิ่งดึงดูดใจ กล่าวคือ มีสภาพของพื้นที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้หรือร่วมทำกิจกรรมการเกษตร และด้านการเข้าถึง กล่าวคือ การเดินทางเข้าถึงสะดวก เช่น ความเรียบของถนน ไม่ขรุขระ และมีบริการรถโดยสารจากถนนเส้นหลักเข้ามายังพื้นที่ การมีส่วนร่วมโดยชุมชน พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นว่าเห็นด้วยมากในการดำเนินการและปฏิบัติการ การวางแผนและการตัดสินใจ และการติดตามและประเมินผล ตามลำดับ และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนและการตัดสินใจ ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากกับการที่จะได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะในที่ประชุม และการที่จะได้มีโอกาสเสนอโครงการ หรือกิจกรรมของชุมชน ด้านการดำเนินการและปฏิบัติการ ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากในการที่จะได้เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และการที่จะได้ร่วมทำงานในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ด้านการรับ และแบ่งปันผลประโยชน์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากในการที่จะได้รับประโยชน์ที่เกิดจากการท่องเที่ยวในชุมชน และการที่จะได้มีโอกาสมีอาชีพหรืองานทำที่เป็นผลมาจากการมีแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และด้านการติดตามและประเมินผล ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากกับการที่จะได้มีส่วนร่วมในการติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ความคิดเห็นต่อรูปแบบโรงเรือน พบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากกับรูปแบบโรงเรือนแบบหลังคาโค้ง (ขาตรง) รองลงมาคือ โรงเรือนแบบทรงหลังคาฟันเลื่อย และโรงเรือนแบบแฝด ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในแต่ละรูปแบบ พบว่า โรงเรือนแบบหลังคาโค้ง (ขาตรง) มีความน่าสนใจและเหมาะสำหรับพืชที่ต้องขึ้นค้างหรือพืชเถาเลื้อย เช่น แตงโม เมล่อน แคนตาลูป เป็นต้น และเป็นโรงเรือนราคาประหยัด สำหรับป้องก้นความเสียหายกับพืชที่ปลูกในฤดูฝน โรงเรือนแบบทรงหลังคาฟันเลื่อย เป็นโรงเรือนที่น่าสนใจคือ เป็นทรงสูงมีความสามารถในการระบายอากาศได้ดี และเป็นโรงเรือนแบบต่อเนื่อง เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ที่ต้องใช้พื้นที่ในการผลิตครั้งละมากๆ และโรงเรือนแบบแฝด เหมาะสำหรับพืชที่มีความสูงไม่มากหรือต้นไม้กระถาง ผักสลัด และเพาะต้นกล้า ที่ต้องการการควบคุมอุณภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน และไม่ต้องย้ายหรือหมุนเวียนพื้นที่ปลูก
เอกสารงานวิจัย
  1. การพัฒนาพื้นที่แหล่งปลูกแคนตาลูปให้เป็นรูปแบบโรงเรือน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ