ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาปัญหาหนี้สินของเกษตรกร พื้นที่เทศบาลตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
The development solving Debt of farmers problems in area TaiDong WangPong District Phetchaboon province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ธีรภัทร์ พุ่มพลอย
ผู้ร่วมวิจัย : นางสาวกัณฑรีรัตน์ ศรีเบญจมาศ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบถึงปัญหาการมีหนี้สินของเกษตรกร ในพื้นที่เทศบาลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้านหนี้สินของเกษตรกร ในพื้นที่เทศบาลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการวิชาการของผู้วิจัย
คำสำคัญ
หนี้สินเกษตรกร, แนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร,Debt of farmers, Guidelines of solving Debt of farmers problems
บทคัดย่อย
ประเทศไทยในอดีตนั้นถูกเรียกได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม จากการสำรวจประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีจำนวน 6.4 ล้านครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ที่นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมนั้นมีอายุตั้งแต่ 51 ปี ขึ้นไป เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในอดีตเกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชผลได้ 1 ครั้งต่อปีเท่านั้น ทำให้เกษตรกรต้องหา อาชีพเสริมนอกจากการทำเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันการเพาะปลูกสามารถทำได้ปีละหลายครั้งเนื่องจากสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการเพาะปลูก เช่น รถไถนา รถเกี่ยวข้าว เป็นต้น ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นไปตามความสะดวกสบายในการเพาะปลูกพืชผลและยังมีการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชผลให้มี สีสัน ขนาด น่ารับประทาน นอกจากนี้เกษตรกรยังค่านิยมการส่งเสริมบุตรหลานให้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้มีโอการในการประกอบอาชีพอื่นๆนอกจากการทำเกษตรกรรมซึ่งถูกมองว่าเป็นอาชีพที่มีความลำบาก และยากจน ดังที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ในการนี้ผู้วิจัย ต้องการทราบถึงปัญหาการมีหนี้สินของเกษตรกร เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้านหนี้สินของเกษตรกร ในพื้นที่เทศบาลท้ายดง อำเภอวังโปุง จังหวัดเพชรบูรณ์ จากผลกระทบดังกล่าวผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น ประเด็นสำคัญของการเป็นหนี้สินเกษตรกร คือ การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เป็นอันดับแรก การใช้จ่ายตามค่านิยม เป็นอันดับที่สอง และการส่งบุตรหลานเรียน เป็นอันดับที่สาม ในการนี้ผู้วิจัยจึงได้หาวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยแนะนำการทำให้เกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อที่จะให้ชาวบ้านลดต้นทุนการการทำเกษตรให้น้อยลงและสามารถพึ่งพาต้นเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารงานวิจัย
  1. เล่มสมบูรณ์
  2. ปก
  3. บทคัดย่อ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. สารบัญ
  6. บทที่ 1
  7. บทที่ 2
  8. บทที่ 3
  9. บทที่ 4
  10. บทที่ 5
  11. บรรณานุกรม
  12. ภาคผนวก
  13. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ