ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกลาส จังหวัดสุโขทัย
-

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ ใจฉลาด
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชญานิษฐ์ ศศิวิมล อาจารย์ ดร.พรทิพย์ ครามจันทึก
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัญหาอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย 3. เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ
ปัญหา,ความต้องการจำเป็น,แนวทางการอนุรักษ์,วัฒนธรรม,ประเพณี,ภูมิปัญญาท้องถิ่น
บทคัดย่อย
การวิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเห็นตรงกัน คือ มีสภาพปัญหาการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญา กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ที่ควรหาแนวทางในการแก้ไข 2) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความเห็นตรงกัน คือ มีความต้องการจำเป็นในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญา กรณีศึกษาตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ที่ควรหาแนวทางในการแก้ไข 3) แนวทางการแก้ปัญหาของการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ ภูมิปัญญา ในชุมชน ได้แก่ 1) โรงเรียนในชุมชนช่วยรณรงค์และอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับลูกหลานหรือเยาวชนรุ่นใหม่ 2) สถาบันครอบครัวหรือพ่อแม่ ผู้ปกครองช่วยกันปลูกฝังให้ลูกหลานได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ ภูมิปัญญาในชุมชน 3) จัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ ภูมิปัญญา ในชุมชนไว้ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาซึ่งอาจทำเป็นสื่อออนไลน์ 4) การอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปะ ภูมิปัญญาในชุมชน จะต้องเริ่มอนุรักษ์และสืบสานจากตัวเองก่อน 5) โรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับลูกหลานและเยาวชนในชุมชน 6) ประสานงานองค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนช่วยในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น 7) มีการจัดทำเป็นสื่อต่าง ๆ และมีการถ่ายทอดวันละ 1 ชม. 8) โรงเรียนที่อยู่ในชุมชนควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับการสืบสานและถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น สัปดาห์ละ 1 วัน 9) โรงเรียนควรมีการสอนทำอาหารท้องถิ่นให้กับนักเรียน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. บทนำ
  6. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  7. วิธีการดำเนินการวิจัย
  8. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  9. อภิปรายและข้อเสนอแนะ
  10. บรรณานุกรม
  11. ประวัตินักวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ