ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง แนวทางการจัดการภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม บ้านห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
Knowledge Management Models for Wisdom and local Knowledge Reservation of The Ban Huai Thua Nuea, Nong Bua District, Nakhon sawan Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์อรรถพล รอดแก้ว
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ วิภาดา ศรีเจริญ อาจารย์ อรษา ภูเจริญ อาจารย์ ดร.พิมรินทร์ คิรินทร์ นางสาวธัญลักษณ์ ชูศรี อาจารย์ สุวิมล ทองแกมแก้ว นางสาวรุ่งฤดี ล่ำชม
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดและการคงอยู่ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนบ้านห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น,วัฒนธรรมท้องถิ่น,การจัดการแบบมีส่วนร่วม,Local Knowledge,Local Cultural,Participatory Management
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูล องค์ความรู้ สภาพปัญหา และแนวทางจัดการในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมในหมู่บ้านห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็น ตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลเป็นประชาชนในพื้นที่ที่มีความรู้ความสามารถในภูมิปัญญาแต่ละด้าน ผลการวิจัยพบว่าการสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการสืบทอดผ่านการบอกเล่าจากบรรพบุรุษ และผู้อาวุโสในชุมชนไม่มีการจดบันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นบางส่วนยังคงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ความเชื่อที่เกี่ยวกับหมอเดินเบี้ยหรือหมอบนเบี้ย ประเพณีของชุมชนที่ยังคงปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในท้องถิ่นอย่างเด่นชัด ได้แก่ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ในวันวิสาขบูชา และภูมิปัญญาด้านการจักสาน แต่ที่กำลังจะสูญหายและไม่มีผู้สืบทอด ได้แก่ เพลงโคราช หมอน้ำมนต์ หมอจับเส้น แนวทางในการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอด และการคงอยู่ด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนบ้านห้วยถั่วเหนือ เกิดขึ้นจากการประชุมสภากาแฟของชุมชนที่กระตุ้นให้เกิดแนวคิดของการร่วมมือกันระหว่างผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้รู้ในแต่ละหมู่บ้านเพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนที่ถูกต้องและชัดเจน การรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ของปราชญ์ในชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดการสูญหาย โดยการวางแผนให้ปรากฏอยู่ในกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือมีแผนดำเนินการที่จะจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
เอกสารงานวิจัย
  1. เล่มรายงานวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ