ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาการมีส่วนร่วมด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
A study of Participation in Local Wisdom, Art and Culture of Tan Tia Community, Mueang District, Sukhothai

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติ บดีรัฐ
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์นันทพันธ์ คดคง อาจารย์ ดร.อุมาภรณ์ ยศเจริญ อาจารย์พิมพ์ชนก ตระกูลพิทักษ์กิจ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 3. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 4. เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการเผยแพร่ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม,ภูมิปัญญา,ศิลปวัฒนธรรม,Participation,Wisdom,Art and Culture
บทคัดย่อย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการศึกษาการมีส่วนร่วมด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย : ประเพณีวิ่งว่าวพระร่วง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย : ประเพณีวิ่งว่าวพระร่วง การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน เชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการศึกษาการมีส่วนร่วมด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย : ประเพณีวิ่งว่าวพระร่วง ทั้งหมด 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริหารจัดการทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วม 2. แนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย : ประเพณีวิ่งว่าวพระร่วง พบว่า 1) ควรมีการบรรจุอยู่ในแผนจังหวัด แผน อบต.ตาลเตี้ย และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมการจัดประเพณีการวิ่งว่าวพระร่วงทุกๆ ปี 2) ควรมีการจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกประจำตำบลตาลเตี้ย 3) ควรมีการจัดตั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชน ในการสืบสานสืบทอดการอนุรักษ์ว่าวพระร่วงอย่างเป็นรูปธรรม 4) ควรมีการสร้างชุมชนให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ เพราะว่าวพระร่วงเป็นทุนทางวัฒนธรรมของคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับเล็กหรือระดับใหญ่ ควรร่วมกันวางแผน วางนโยบายในการอนุรักษ์ร่วมกัน 5) ควรมีความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา ให้มองเห็นความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญาว่าวพระร่วง หรือการจัดการเรียนรู้โดยการนำนักเรียน นักศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน 6) ควรมีแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ มีการจัดทำหนังสือรวบรวมภูมิปัญญาว่าวพระร่วง ในหนังสือประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาของว่าวพระร่วง ขั้นตอน/วิธีการประดิษฐ์ว่าวที่ละเอียดและสมบูรณ์ รวบรวมปราชญ์และครูภูมิปัญญาที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับว่าวพระร่วง เพื่อให้ผู้สนใจได้มีโอกาสในการศึกษาและทำความรู้จักกับว่าวพระร่วงได้ลึกซึ้งมากกว่าเดิม
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. กิตติกรรมประกาศ
  4. สารบัญ
  5. สารบัญตาราง
  6. บทที่1
  7. บทที่2
  8. บทที่3
  9. บทที่4
  10. บทที่5
  11. บรรณานุกรม
  12. ภาคผนวก ก
  13. ภาคผนวก ข
  14. ภาคผนวก ค
  15. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ