ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การเมืองภาคประชาชน กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
Public Sector: A Case Study of Participation of Incinery Power Plant in Piasalee District Administrative Organization, Amphoe Piasalee, Nakhon Sawan Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.อรุณี กาสยานนท์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบการมีส่วนร่วมในโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาความต้องการภาคประชาชนที่มีต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ
การเมืองภาคประชาชน,โรงงานขยะพลังงานไฟฟ้า,การมีส่วนร่วม,Public sector,Incinery Power Plant,Participation
บทคัดย่อย
วิจัยเรื่องการเมืองภาคประชาชน กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบการมีส่วนร่วมในโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาความต้องการภาคประชาชนที่มีต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์โดยผู้วิจัยเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณนำและใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการนำรูปแบบการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ในพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและจากข้อมูลศึกษาภาคสนาม รวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีนกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลการวิจัยทั้งหมดพบว่าปัญหาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลีเกิดจากการขาดการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ การกำหนดประเด็นปัญหาร่วมกันกับประชาชน และการยอมรับโครงการที่เกิดจากภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ได้ส่งผลให้ประชาชนไม่เข้าใจประเด็นปัญหาและมองว่าการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะไม่มีความจำเป็นต่อพื้นที่ นอกจากนี้การที่ภาครัฐเพิกเฉยต่อกระบวนการการทำประชาคมและปล่อยให้กระบวนการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนฝ่ายเดียว ทำให้ภาคประชาชนรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความชอบธรรมในกระบวนการการทำประชาคมที่ถูกต้อง รวมทั้งการที่ อบต. ได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้พื้นที่โดยไม่สอบถามความเห็นจากชาวบ้านก็เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง ฉะนั้นจึงก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่มีต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพสาลี โดยประกอบด้วย ระยะแรก การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ไม่เป็นทางการซึ่งกระทำโดยชาวบ้านและแกนนำในพื้นที่ซึ่งการเคลื่อนไหวในระยะนี้แกนนำและชาวบ้านแสดงการคัดค้าน เช่น การขึ้นป้าย การนำรถประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ระยะที่สอง การเคลื่อนไหวในระยะนี้มีรูปแบบขององค์กรมากขึ้นโดยมีการจัดตั้งคณะทำงานคนรักไพศาลีขึ้นมาโดยมีจำนวนสมาชิกทั้งชาวบ้านและแกนนำที่มีอุดมการณ์และจุดมุ่งหมายของการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนประเด็นความต้องการภาคประชาชนที่มีต่อโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะในพื้นที่พบว่าประชาชนในพื้นที่มีความต้องการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะน้อยมาก
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่1-5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ