ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาการมีส่วนร่วมด้านภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชุมชนห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ : ประเพณีกวนข้าวทิพย์
A study of Participation in Local Wisdom, Art and Culture of Huai Thua Nuea Community, Nong Bua District, Nakhorn Sawan Province: The Tradition of Stir Holy Rice (Traditional stir Kgawtipis)

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ
ผู้ร่วมวิจัย : ว่าที่ ร.ต.หญิงยุวดี พ่วงรอด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติ บดีรัฐ อาจารย์หนึ่งฤทัย ศรีสุกใส
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในประเพณีกวนข้าวทิพย์ของชุมชนห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ต่อการอนุรักษ์ประเพณีกวนข้าวทิพย์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ต่อการอนุรักษ์ประเพณีกวนข้าวทิพย์
คำสำคัญ
การมีส่วนร่วม,ภูมิปัญญา,ประเพณีกวนข้าวทิพย์,Participation,Wisdom,Traditional stir Kgawtipis
บทคัดย่อย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในประเพณีกวนข้าวทิพย์ ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ (อบต.) ต่อการอนุรักษ์ประเพณีกวนข้าวทิพย์ และศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของ อบต. ต่อการอนุรักษ์ประเพณีกวนข้าวทิพย์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม กับคนในชุมชนที่หลากหลายวัยและอาชีพ จำนวน 10 ครั้ง (รวม 197 คน) พบว่ามีเพียง 3 หมู่บ้านที่ยังมีการสืบทอดประเพณีกวนข้าวทิพย์ เนื่องจากผู้นำชุมชนให้ความสำคัญและชักชวนคนในหมู่บ้านให้มีส่วนร่วมตั้งแต่เตรียมงานและภายหลังด้วยความเชื่อที่ดีต่อสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้งเป็นการร่วมสืบทอดประเพณีของบรรพบุรุษ ความคิดเห็นส่วนใหญ่ต้องการให้ อบต. สนับสนุนงบประมาณ มาร่วมกิจกรรมทุกปี และ อบต. ควรมีคนหรือหน่วยงานเฉพาะเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์จากสูตรข้าวทิพย์ เป็นต้น ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายต่อการบริหารจัดการของ อบต. ในประเพณีกวนข้าวทิพย์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.24, S.D.=0.97) โดยด้านการร่วมทำนุบำรุง การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีกวนข้าวทิพย์อยู่ในระดับมาก (x ̅=3.61, S.D.=0.98) ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับปากลาง คือ ด้านการร่วมกันวางแผนในการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ (x ̅=3.36, S.D.=1.12) ด้านการร่วมกันปฏิบัติตามแผนในการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ (x ̅=3.35, S.D.=1.05) ด้านการร่วมกันใช้ประโยชน์ในการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ (x ̅=2.96, S.D.=1.22) และด้านการร่วมติดตามและประเมินผลในการจัดประเพณีกวนข้าวทิพย์ (x ̅=2.91, S.D.=1.23) ตามลำดับ อบต. ควรจัดโครงการสนับสนุน หาแนวทางและพัฒนารูปแบบในการบริหารจัดการร่วมกับเครือข่ายอื่นในประเพณีกวนข้าวทิพย์ เพื่อเพิ่มการบริหารจัดการร่วมกันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนสูตรข้าวทิพย์ในอนาคต
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1
  3. บทที่ 2
  4. บทที่ 3
  5. บทที่ 4
  6. บทที่ 5
  7. บรรณานุกรม

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ