ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาภาวะหนี้สินและแนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกร ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
A Study Debt and Guidelines for Solving Issue of Farmer’s Debt in Ban Klang Sub-district, Song District, Phrae Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศิริ ใจผ่อง
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี แหยมคง อาจารย์พัทธนันท์ โกธรรม Dr. Tuan Nguyen Ngoc นางสาวปิยวดี น้อยน้ำใส
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาภาวะหนี้สินและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
คำสำคัญ
หนี้สิน, เกษตรกร, จังหวัดแพร่,Debt, Farmer, Phree Province
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาภาวะหนี้สินและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จากกลุ่มตัวอย่าง 127 ครัวเรือน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเป็นหนี้ของเกษตรกรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้สิน คือ ปัจจัยด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านโครงสร้างทางสัวคมและวัฒนธรรม ปัจจัยด้านนโยบายทางการเมือง ปัจจัยด้านความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว และปัจจัยด้านความสามารถในการบริหารจัดการ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินเฉลี่ย 142,526 ± 10,364 บาท/ครัวเรือน และส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินที่ต้องชำระคืนเฉลี่ยต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท (ร้อยละ 60.23) และปัจจัยด้านความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพมีอิทธิพลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรมากที่สุด (x ̅=4.22) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเป็นหนี้ของเกษตรกรและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้สิน พบว่าภาวะการเป็นหนี้ของเกษตรกรและปัจจัยด้านความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.60, P<0.01) ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกร ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ จึงควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมการให้ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรในด้านต่างๆ เพื่อที่เกษตรกรจะนำความรู้ไปบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนในการประกอบอาชีพได้  
เอกสารงานวิจัย
  1. การศึกษาภาวะหนี้สินและแนวทางการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของเกษตรกร ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
  2. ปก
  3. บทคัดย่อ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. คำนำ
  6. สารบัญ
  7. บทที่ 1
  8. บทที่ 2
  9. บทที่ 3
  10. บทที่ 4
  11. บทที่ 5
  12. บรรณานุกรม
  13. ภาคผนวก
  14. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ