ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาระบบท่องเที่ยวเสมือนจริงสำหรับ อบต.บ้านกรูด
Virtual Reality Tour System Development for BannGood Subdistrict Administration Organization

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : นายเดช ธรรมศิริ
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาระบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลตำบลบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2. เพื่อหาประสิทธิภาพในการใช้ระบบท่องเที่ยวเสมือนจริง สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลตำบลบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ
virtual Reality ,marketing
บทคัดย่อย
ปัจจุบันภาคการท่องเที่ยวถือว่าเป็นภาคหลักในการทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยในปี 2560 ที่ผ่านมาสร้างรายได้รวมได้ที่ 2.76 ล้านล้านบาท และคิดเป็นสัดส่วน 20% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดทำแผนการตลาดด้านการท่องเที่ยวไว้ตั้งแต่ต้นปี หรือมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 35 ล้านคน และรายได้จากตลาดคนไทยท่องเที่ยวในประเทศ (ไทยเที่ยวไทย) 9.5 แสนล้านบาท สำหรับในปี 2561 นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า ททท.ได้วางเป้าหมายการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวในปีหน้าอีก 10% หรือมีรายได้รวมที่ 3.1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.1 ล้านล้านบาท และรายได้จากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ 1 ล้านล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจ,2561) จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น หากมีนักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาท่องเที่ยวมากจะส่งผลต่อรายได้ประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดนครปฐม ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของประเทศไทย โดยมีอนาเขตติดกับทะเล มีชายหาดที่สวยงาม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง รีสอร์ท ร้านอาหารทะเลอยู่โดยทั่วไป มีวัดทางสาย พระมหาธาตุเจดีภักดีประกาศ จะเห็นได้ว่าสถานที่เหล่านี้หากนักท่องเที่ยวได้แวะมาจะสามารถสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวได้ แต่ปัญหาคือส่วนใหญ่แล้วหากนึกถึงที่เที่ยวในจังหวัดประจวบนักท่องเที่ยวส่วนมากจะนึกถึงอำเภอหัวหิน หรืออำเภออื่นเพราะสดวกแก่การเดินทาง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการเดินทางไปยังสถานที่ดังกล่าว จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากสามารถสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว โดยที่นักท่องเที่ยวได้เห็นภาพเสมือนอยู่ในสถานที่จริง เชื่อว่าจะสามารถสร้างความประทับใจและเป็นการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาเที่ยวยังสถานที่แห่งนี้ ดังเช่นงานวิจัยของ Martins และคณะ(2017) ได้นำเสนอการท่องเที่ยวเสมือนจริงสร้างประสบการณ์ในรูปแบบการท่องเที่ยวเกี่ยวกับสถานที่ผลิตไวน์ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติของไวน์ กระบวนการขั้นตอนการตัดองุ่น การใช้เท้าเหยียบองุ่น การขายองุ่นในรูปแบบอดีต นอกจากนั้นยังมีการนำไวน์มาให้ชิมเพื่อสร้างรูปแบบเสมือนนักท่องเที่ยวไปเที่ยวสถานที่นั้นจริง ๆ อีกทั้งผู้วิจัยได้สร้างบรรยากาศโดยใช้กลิ่นไวน์ เสียง และมุมมองที่เป็นแบบสามมิติ นักวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในรูปแบบเสมือนจริงและการได้สัมผัสความรู้สึกที่หลากหลายของการทำไวน์ Huang และคณะ (2013) ได้ศึกษาพัฒนากรอบการวิจัยที่มีผลกระทบต่อประสบการณ์และความตั้งใจเดินทางของนักท่องเที่ยว ในรูปแบบ การพัฒนาท่องเที่ยวเสมือนจริง 3 มิติ โดยผู้วิจัยพบว่าในการออกแบบเว็บไซต์ปลายทางการท่องเที่ยว 3 มิติที่ช่วยดึงดูดและโต้ตอบได้ จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความสนใจของผู้คนในการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงมีแนวทางในการนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลตำบลบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น อันจะนำมาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวบ้านในเขตพื้นที่ดังกล่าว
เอกสารงานวิจัย
  1. บทสรุปการวิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ