ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ศึกษาปัญหาอุปสรรคและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลของเทศบาลตำบลท้ายดง อำเภอวังโปร่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
The Study of Problem, Difficulty and Behavior of Solid Waste Disposal through Community Participation of Sub-district Thaydong Municipality,WangpongDistrict, Phetchabun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา วงศ์แสงเทียน
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบา หินเธาว์ อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง อาจารย์พัทธนันท์ โกธรรม อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์ นางสาวธัญญพร มาบวบ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลท้ายดง อำเภอวังโปร่งจังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลตําบลท้ายดง อำเภอวังโปร่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของชุมชนเทศบาลตําบลท้ายดง อำเภอวังโปร่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ
การจัดการขยะมูลฝอย,การมีส่วนร่วมชุมชน,พฤติกรรม,Solid Waste Management ,Participated community,Behavior
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนเทศบาลตำบลท้ายดง อำเภอวังโปร่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างในวิธีวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 98 คน กำหนดขนาดตามตารางยามาเน่ (Yamane) ที่ความคาดเคลื่อน 10% และมีวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ อภิปรายแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนมีการคัดแยกเฉพาะที่ขายได้ ส่วนประเภทอื่นๆทิ้งรวมไปกับถังขยะของเทศบาล ปัญหาประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะและปัญหาพื้นที่กำจัดขยะมูลฝอยไม่พอเพียง ขาดความร่วมมือของภาครัฐและประชาชนอย่างจริงจัง ส่วนด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ในด้านการรับผลประโยชน์จากการขายขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติในด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการติดตาม และการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา อยู่ในระดับน้อย ดังนั้นทิศทางในการสร้างการมีส่วนร่วมในจัดการขยะมูลฝอยโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพของชุมชนแกนนำ ประชุมหารือกับเทศบาลและผู้นำชุมชนนำข้อมูลกลับไปประชุมหารือกับลูกบ้าน วางแผนดำเนินงาน ปฏิบัติงาน ติดตามและประเมินผลต่อเนื่องส่งผลการสร้างจิตสำนึกการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. คำนำ
  6. สารบัญ
  7. สารบัญตาราง
  8. สารบัญภาพ
  9. บทที่ 1
  10. บทที่ 2
  11. บทที่ 3
  12. บทที่ 4
  13. บทที่ 5
  14. บรรณานุกรม
  15. ภาคผนวก
  16. แบบสอบถาม
  17. ภาพถ่าย
  18. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ