ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง ศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการจัดการขยะมูลแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
The study of Behavior and appropriate Method in Managing Solid Waste that participated by people in community of Khlong Phikrai, Khlong Phikrai District, Kamphaengphet Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา วงศ์แสงเทียน
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิจิตรา ทุนอินทร์ อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์ นางสาวธัญญพร มาบวบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบา หินเธาว์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตําบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลตําบลคลอง พิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 3. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมของชุมชนในเทศบาลตําบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ
การจัดการขยะมูลฝอย,พฤติกรรม,การมีส่วนร่วมชุมชน,Solid Waste Management,Behavior,Participated community
บทคัดย่อย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเทศบาลตําบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเทศบาลตําบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรการดำเนินการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน จำนวน 98 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกและการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง สมาชิกชุมชน จำนวน20 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่าสภาพในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองพิไกร ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดจากการทิ้งขยะในภาคครัวเรือนและเกิดจากการค้าขายในตลาดชุมชนวิธีการกำจัดขยะโดยวิธีการฝังกลบแบบขุดร่องและทิ้งกองขยะบางส่วนที่ไม่สามารถบดอัดให้ลดปริมาณลงได้ เป็นเหตุให้พื้นที่ในการกำจัดขยะใกล้เต็มพื้นที่ ด้านพฤติกรรมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย การลดขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย ความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากประชาชนยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยทั้งด้านความร่วมมือและความตระหนักของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยควรปรับนโยบายการบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยมีการสื่อสารและการเผยแพร่การประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกสร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี การเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนและกองทุนการจัดการขยะมูลฝอย การส่งเสริมความร่วมมือในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบาย
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. คำนำ
  6. สารบัญ
  7. สารบัญตาราง
  8. สารบัญภาพ
  9. บทที่ 1
  10. บทที่ 2
  11. บทที่ 3
  12. บทที่ 4
  13. บทที่ 5
  14. บรรณานุกรม
  15. ภาคผนวก
  16. แบบสอบถาม
  17. ภาพถ่ายการลงพื้นที่
  18. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ