ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนากลไกทางกฎหมายในการบริหารจัดการขยะชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี
Legal System Developement according to Solid Waste Management of Thung Na-ngam Subdistrict Administrative Organization Lan Sak District Uthaithanee Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์กานดิศ ศิริสานต์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ให้สอดคล้องกับนโยบาย แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของรัฐบาล 3. เพื่อพัฒนากลไกกฎหมายในการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ให้สอดคล้องกับนโยบาย แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของรัฐบาล
คำสำคัญ
กฎหมาย ,ขยะมูลฝอย,การปกครองส่วนท้องถิ่น,LAW,WASTE,SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
บทคัดย่อย
โครงการวิจัยการพัฒนากลไกกฎหมายการบริหารจัดการขยะชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสักจังหวัดอุทัยธานี มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องของประชาชน เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะชุมชน เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการขยะชุมชนและพัฒนากลไกกฎหมายการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จากการลงพื้นที่วิจัยเพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วน ตำบล ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าอาวาสวัด และผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรม พบปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการขยะชุมชน ขาดการรณรงค์และปลูกฝังจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะชุมชน ขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการขยะชุมชนตาม หลักวิชาการ ขาดกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการขยะชุมชน และขาดข้อบัญญัติตำบลในการบริหารจัดการขยะชุมชน โดยนำเอาปัญหาอุปสรรคมาเป็นโจทย์วิจัย และทำการวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง นโยบาย แผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกรอบแนวคิดอันนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างรูปแบบและพัฒนากลไกกฎหมายการบริหารจัดการขยะชุมชนที่เหมาะสม ประกอบกับการเก็บข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม จาก 12 หมู่บ้าน จำนวน 100 คน ประกอบด้วย บ้านดินแดง บ้านห้วยโศก บ้านชายเขา บ้านนิคมสามัคคี บ้านเขาน้ำโจน บ้านหนองผักบุ้ง บ้านน้ำวิ่ง บ้านทุ่งนางาม บ้านบุ่งฝาง บ้านศรีบุญเรือง บ้านประชาสุขสรรค์ และบ้าน ทุ่งเศรษฐี เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของประชาชน เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ ปัญหาขาดการรณรงค์ องค์ความรู้ตามหลักวิชาการ กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ถังขยะสาธารณะที่เพียงพอ ข้อบัญญัติตำบล ซึ่งเป็นกลไกในการบริหารจัดการขยะชุมชนที่มีโทษปรับ และประชาชนต้องความรู้ในการคัดแยกขยะตามหลักวิชาการ ถุงใส่ขยะมูลฝอยครัวเรือนแยกตามประเภท เก็บขยะมูลฝอยครัวเรือนไปทิ้ง จัดถังขยะแยกตามประเภทตั้งในที่สาธารณะ เพิ่มจำนวนรถเก็บขยะ เพิ่มรอบเวลาในการให้บริการรถเก็บขยะ เพิ่มมาตรการเข้มงวดสำหรับผู้สร้างปัญหามลพิษทางขยะแก่ชุมชน ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา วางแผนงาน กำหนดนโยบาย/มาตรการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดในชุมชน ได้รับผลประโยชน์ และการประเมินผลการแก้ไขปัญหาขยะของชุมชน 2. รูปแบบการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่แหล่งกำเนิด เช่น การลดและคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย การนำกลับมาใช้ประโยชน์การเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เช่น การบริหารจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรการสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย ควรจัดให้มีสถานที่หรือศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) เนื่องจากจังหวัดอุทัยธานีมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการแปรรูปขยะมูลฝอยโดยการคัดแยกเพื่อผลิตเชื้อเพลิง (RDF) อยู่ในลำดับที่ 41 และมีพื้นที่เหมาะสมเป็นศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนของจังหวัดอยู่ในลำดับที่ 16 3. กลไกกฎหมายการบริหารจัดการขยะชุมชนภายในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วย ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม จะออกข้อบัญญัติตำบล ในเรื่องการบริหารจัดการขยะชุมชนที่กำหนดบทลงโทษเป็นค่าปรับในกรณีฝ่าฝืน โดยจะนำเงินค่าปรับมาจัดตั้งเป็นกองทุน การบริหารจัดการขยะชุมชน และจัดทำร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม เรื่อง การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ... ที่มีเนื้อหาการนำเงินค่าปรับมาจัดตั้ง เป็นกองทุนการบริหารจัดการขยะชุมชน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อภาษาไทย
  3. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  4. กิตติกรรมประกาศ
  5. สารบัญ
  6. สารบัญตาราง
  7. สารบัญภาพประกอบ
  8. บทที่ 1
  9. บทที่ 2
  10. บทที่ 3
  11. บทที่ 4.1
  12. บทที่ 4.2
  13. บทที่ 4.3
  14. บทที่ 4.4
  15. บทที่ 4.5
  16. บทที่ 5
  17. ภาคผนวก ก
  18. ภาคผนวก ข
  19. ภาคผนวก ค
  20. ภาคผนวก ง
  21. บรรณานุกรม
  22. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ