ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาละแมและกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของกลุ่มสร้างอาชีพตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
Development of Kalamae Product and Marketing Mix Strategy for Entrepreneurs, Thungkhamin Sub-district, Na Mom District, Songkhla Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ดร.อุราภรณ์ เรืองวัชรินทร์
ผู้ร่วมวิจัย :
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1.) เพื่อศึกษากระบวนการผลิต ศึกษาอายุการเก็บรักษา และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์กะละแม 2.)เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กะละแม
คำสำคัญ
กะละแม
บทคัดย่อย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกาละแม ศึกษาอายุการเก็บรักษา พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กะละแม การผลิตกาละแมเนื่องจากตำบลทุ่งขมิ้นมีการปลูกมะพร้าวเป็นจำนวนมาก ผลิตกาละแมเพื่อสร้างรายได้เสริม จากการศึกษากระบวนการผลิตพบว่า กระบวนการผลิตอาจจะมีปัญหาการปนเปื้อนข้ามในระหว่างกระบวนการห่อผลิตภัณฑ์กาละแม หลังจากการปรับปรุงวิธีการผลิตให้ถูกสุขลักษณะ หาปริมาณจุลินทรีย์ ทดสอบทางกายภาพ และทดสอบทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์กาละแม พบว่าผลิตภัณฑ์กาละแมรสธรรมดาและรสใบเตย สามารถเก็บรักษาได้นานอย่างน้อย 15 วัน ซึ่งมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณยีสต์และราต่ำกว่าเกณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน การทดสอบลักษณะเนื้อสัมผัส พบว่าก่อนและหลังหลังการปรับปรุงวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์กาละแมรสธรรมดาและรสใบเตย สามารถเก็บรักษาได้เพียง 10 วัน หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะแข็งมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่าก่อนและหลังการปรับปรุงวิธีการผลิตภัณฑ์ กาละแมรสธรรมดา ผู้บริโภคให้การยอมรับอย่างน้อย 10 วัน และรสใบเตยผู้บริโภคให้การยอมรับอย่างน้อย 15 วัน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ของฝาก จากการศึกษาส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กาละแม พบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กาละแมในระดับมาก ปัจจัยด้านราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมทางการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กาละแมในระดับปานกลาง
เอกสารงานวิจัย
  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาละแมและกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของกลุ่มสร้างอาชีพตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ