ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
A Study of solid waste management model by community participation process, Tambon Huai Mun, Nam Pat District, Uttaradit Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์รสสุคนธ์ ประดิษฐ์
ผู้ร่วมวิจัย : ว่าที่ ร.ต.หญิงยุวดี พ่วงรอด
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. ทำให้ทราบว่าตำบลห้วยมุ่นมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างไร ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้มีปัญหาในการจัดการ 2. ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการปัญหาขยะที่ผ่านมาของตำบลห้วยมุ่น 3. ได้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับชุมชนตำบลห้วยมุ่น
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,อุตรดิตถ์
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของพื้นที่พื้นที่ตำบลห้วยมุ่น 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น และ 3) ศึกษารูปแบบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับชุมชน พื้นที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตตำบลห้วยมุ่นจำนวน 400 ครัวเรือน สำหรับแนวทางและรูปแบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือกลุ่มผู้นำชุมชน ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาปัญหาในจัดการขยะในพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น พบว่า ขยะในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์จำพวกหัวสับปะรดที่เน่าเสียและเศษที่ตัดทิ้งจากหัวสับปะรด นอกจากนี้ยังพบขยะจำพวกขยะอันตราย ขวดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขวดยาฆ่าแมลง ถุงปุ๋ยเคมี ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่จะใช้ในการทำการเกษตร 3. กระบวนการมีส่วนร่วม พบว่า ประชาชนยังมีส่วนร่วมไม่มากเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการของการวางแผน การดำเนินการ การร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผลจากการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมถึงการขาดการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยมุ่นควรเปิดเผยข้อมูลด้านรายได้จากการจัดเก็บให้ประชาชนได้รับทราบ 2. รูปแบบและข้อเสนอแนะในการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น พบว่า ควรลดปริมาณขยะจากแหล่งกำเนิดขยะที่มาจากบ้านเรือนโดยการรณรงค์ ให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์ ให้มีการคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้งลงถังขยะของ อบต. ซึ่งเป็นการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยมุ่นควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งหรือสนับสนุนการเกิดธนาคารขยะ เพื่อให้การคัดแยกขยะมีแหล่งรับซื้อที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปดูแล ให้ความรู้ รวมถึงจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการกำจัดขยะให้กับพื้นที่สูง เพื่อไม่ให้ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่อไป และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปดูแล ให้ความรู้ รวมถึงจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการกำจัดขยะให้กับพื้นที่สูง เพื่อไม่ให้ปัญหาขยะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. สารบัญ
  3. บทคัดย่อกิตติกรรมประกาศ
  4. บทที่ 1
  5. บทที่ 2
  6. บทที่ 3
  7. บทที่ 4
  8. บทที่ 5
  9. บรรณานุกรม
  10. ภาคผนวก
  11. ประวัติผู้วิจัย

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ