ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Guideline of Community Solid Waste Disposal by Participants of Wang din Subdistrict Administrative Organization , Uttaradit Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของพื้นที่ ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ
ขยะ,การจัดการขยะ,อุตรดิตถ์,รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย ,การมีส่วนร่วม,บริการสาธารณะ
บทคัดย่อย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังดินโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของพื้นที่ ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนครัวเรือนในตำบลวังดิน จำนวน 60 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน คณะผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 คน รวม 75 คน ใช้วีการสุ่มตัวอย่างง่ายแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลวังดิน ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอย่างถูกวิธีจึงไม่มีนโยบายด้านการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม คือ 1.การพัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบและเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธี 2.การรณรงค์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ คัดแยกขยะอันตราย และไม่ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดหาภาชนะหรือจุดรับขยะอันตรายที่แยกออกจากขยะชนิดอื่นๆอย่างชัดเจน รวมไปถึงการจัดหารถเก็บขยะชนิดพิเศษเพื่อจัดเก็บขยะอันตราย และ 3. การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสร้างสถานีขนถ่ายขยะอันตราย เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม และคัดแยกขยะอันตราย ส่วนที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่จะถูกนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะอันตรายต่อไป
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1-5
  3. บทคัดย่อ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ