ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
Study of suitable models for solid waste management by participation Public : A Case Study of Ban Siao Subdistrict Administrative Organization , Uttaradit Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : ตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ
การจัดการขยะ ,ขยะ,อุตรดิตถ์
บทคัดย่อย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนครัวเรือนในตำบลบ้านเสี้ยว จำนวน 60 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน คณะผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 5 คน รวม 75 คน ใช้วีการสุ่มตัวอย่างง่ายแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยดำเนินการโดยการจัดเก็บขยะที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว โดยประกอบไปด้วยขยะในทุกประเภท โดยขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ที่เกิดจากครัวเรือน ซึ่งประชาชนมีวิธีในการจัดการขยะโดยส่วนมากคือทิ้งลงในถังขยะของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสี้ยว รวมไปถึงมีการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขาย ในส่วนความรู้ความเข้าใจของประชานเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในระดับมากเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ 1-5
  3. บทคัดย่อ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ