ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล อ.ขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
Study of suitable models for solid waste management by participation Public: A Case Study of Koh Tan Subdistrict Administrative Organization Kamphaengphet Province.

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์
ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษากลไกกฎหมายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,กำแพงเพชร,รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย
บทคัดย่อย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน 2. เพื่อศึกษากลไกกฎหมายในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 3. เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวแทนประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาลจำนวน 20 คน ประกอบไปด้วย ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านๆละ 2 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหมู่บ้านละ 2 คน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านละ 1 คน คณะผู้บริหารและข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทองจำนวน 10 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า อบต. ไม่มีการดำเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดย อบต. ได้ใช้วิธีการให้ประชาชนทำการจัดการขยะด้วยตนเอง โดยการสนับสนุนของ อบต. ทั้งในด้านเทคนิค และวัสดุอุปกรณ์ โดยขยะที่มีมากที่สุด คือ ขยะอินทรีย์ที่เกิดจากครัวเรือน และภาคการเกษตร ซึ่งประชาชนมีวิธีในการจัดการขยะโดยส่วนมากคือการเผา และฝังกลบ รวมไปถึงมีการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขาย ในส่วนความรู้ความเข้าใจของประชานเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยในภาพรวม พบว่า ประชาชนมีความเข้าใจในระดับปานกลางเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง โดยภายในชุมชนได้มีกลไกกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอย เช่น มีการห้ามเผาขยะ มีกฎระเบียบห้ามทิ้งขยะในที่สาธารณะ รวมไปถึงได้มีการกำหนดอัตราค่าปรับสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมายในการจัดการขยะด้วย ผู้วิจัยสามารถเสนอแนวทางและรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอยได้โดยเน้นรูปแบบของการดำเนินการจัดการขยะ โดยการวางแผนเพื่อลดปริมาณขยะจากต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะทำให้เกิดปริมาณขยะในการส่งเข้าสู่กระบวนการกำจัดในรูปแบบต่างให้น้อยที่สุด นอกจากนั้นต้องมีขีดความสามารถในการนำขยะมาใช้ประโยชน์ทั้งในมิติของการใช้ซ้ำและการแปรรูปใหม่ ให้มากที่สุด รวมไปถึงการแปรรูปขยะสู่ผลิตภัณฑ์หรือผลพลอยได้จากขยะ เช่น ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การใช้เป็นเชื่อเพลิง ทั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถเสนอแนวทางในการดำเนินการได้ดังต่อไปนี้ 1. การลดปริมาณขยะมูลฝอย 2. การจัดการวางระบบการรีไซเคิล ( Recycle ) ที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การแปรรูปขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และ 3. การกำหนดแนวทางในการจัดการขยะอันตรายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทที่ื 1 - 5
  3. บทคัดย่อ

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ