ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Guideline of Community Solid Waste Disposal by Participants of Tumbol Samo Khae, Amphoe Muang, Phitsanulok Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบา หินเธาว์
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา วงศ์แสงเทียน อาจารย์ ดร.อรวรรณ ไพโรจนวุฒิพงศ์ อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์ นางสาวธัญญพร มาบวบ อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 2. เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,พิษณุโลก
บทคัดย่อย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการขยะมูลฝอย ในครัวเรือน การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอย และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 99 คน กำหนดขนาดตามตารางยามาเน่ (Yamane) ที่ความคาดเคลื่อน 10 % ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 16 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ขยะมูลฝอยส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดมาจากครัวเรือน อบต.จึงประกาศให้ ประชาชนในตำบลสมอแขมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางที่ครัวเรือน พฤติกรรมของประชาชนในตำบลส่วนใหญ่จะคัดแยกขยะรีไซเคิลไว้ขาย ขยะทั่วไปประเภทถุงพลาสติก โฟม ซองขนมพลาสติก จะทิ้งลงในถังขยะที่ อบต. จัดเตรียมให้ แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน คือ ให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สมอแขควรบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างศูนย์กำจัดขยะ ให้ความรู้การลดปริมาณขยะแบบ 3 Rs คือ Reduce Reuse Recycle จัดโครงการสร้างจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการลดปริมาณขยะมูลฝอยกันอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ