ข้อมูลงานวิจัย รายงานข้อมูล

งานวิจัยรื่อง การศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
Model of Community Solid Waste Disposal by Participants of Tumbol Wungtadee, Amphoe Nongpai, Phetchabun Province

นักวิจัย
หัวหน้าโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบา หินเธาว์
ผู้ร่วมวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรา วงศ์แสงเทียน อาจารย์รณชัย หมื่นวงศ์ อาจารย์ปรัชญา โพธิหัง นางสาวธัญญพร มาบวบ
ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ :
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. เพื่อศึกษาปัญหา และความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของตำบลวังท่าดีอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับชุมชนในตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ
การจัดการขยะ,ขยะ,เพชรบูรณ์
บทคัดย่อย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ปัญหา ความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน และรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับชุมชนในตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 คน กำหนดขนาดตามตารางยามาเน่ (Yamane) ที่ความคาดเคลื่อนร้อยละ 10 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ในตำบลวังท่าดีจะไม่มีถังขยะ เป็นชุมชนไร้ถัง ชาวบ้านจะจัดการขยะมูลฝอยเองภายในครัวเรือน ซึ่งขยะมูลฝอยส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ ที่เกิดจากการทำเกษตรกรรมและมาจากครัวเรือนส่วนรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลวังท่าดีเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันระหว่างอบต.และแกนนำชุมชน วางแผน กำหนดแนวทางการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอย ติดตาม และประเมินผลร่วมกัน โดยแกนนำนำข้อมูลกลับไปประชุมร่วมกับลูกบ้าน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเริ่มจากการคัดแยกขยะมูลฝอยเป็นประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางที่ครัวเรือน
เอกสารงานวิจัย
  1. ปก
  2. บทคัดย่อ
  3. บทที่ 1
  4. บทที่ 2
  5. บทที่ 3
  6. บทที่ 4
  7. บทที่ 5

ผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

Notes

ข้อมูลจากระบบ LRD : Local Research Development System.

ย้อนกลับ